วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

วันเข้าพรรษา ประจำปี ๒๕๕๕ ตรงกับวันที่ ศุกร์ ๓ สิงหาคม

         
           วันเข้าพรรษา (บาลี: วสฺส, สันสกฤต: วรฺษ, อังกฤษ: Vassa เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติดปากกันโดยทั่วไปว่า จำพรรษา ("พรรษา" แปลว่า ฤดูฝน, "จำ" แปลว่า พักอยู่) พิธีเข้าพรรษานี้ถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์โดยตรง ละเว้นไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม  การเข้าพรรษาตามปกติเริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี (หรือเดือน 8 หลัง ถ้ามีเดือน 8 สองหน) และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา
วันเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8) หรือเทศกาลเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) ถือได้ว่าเป็นวันและช่วงเทศกาลทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญเทศกาลหนึ่งในประเทศไทย โดยมีระยะเวลาประมาณ 3 เดือนในช่วงฤดูฝน โดยวันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ต่อเนื่องมาจากวันอาสาฬหบูชา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8) ซึ่งพุทธศาสนิกชนชาวไทยทั้งพระมหากษัตริย์และคนทั่วไปได้สืบทอดประเพณีปฏิบัติการทำบุญในวันเข้าพรรษามาช้านานแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย
สาเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตการจำพรรษาอยู่ ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งตลอด 3 เดือนแก่พระสงฆ์นั้น มีเหตุผลเพื่อให้พระสงฆ์ได้หยุดพักการจาริกเพื่อเผยแพร่ศาสนาไปตามสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นไปด้วยความยากลำบากในช่วงฤดูฝน เพื่อป้องกันความเสียหายจากการอาจเดินเหยียบย่ำธัญพืชของชาวบ้านที่ปลูกลงแปลงในฤดูฝน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงเวลาจำพรรษาตลอด 3 เดือนนั้น เป็นช่วงเวลาและโอกาสสำคัญในรอบปีที่พระสงฆ์จะได้มาอยู่จำพรรษารวมกันภายในอาวาสหรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยจากพระสงฆ์ที่ทรงความรู้ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ด้วย
ในวันเข้าพรรษาและช่วงฤดูพรรษากาลตลอดทั้ง 3 เดือน พุทธศาสนิกชนชาวไทยถือเป็นโอกาสอันดีที่จะบำเพ็ญกุศลด้วยการเข้าวัดทำบุญใส่บาตร ฟังพระธรรมเทศนา ซึ่งสิ่งที่พิเศษจากวันสำคัญอื่น ๆ คือ มีการถวายหลอดไฟหรือเทียนเข้าพรรษา และผ้าอาบน้ำฝน (ผ้าวัสสิกสาฏก) แก่พระสงฆ์ด้วย เพื่อสำหรับให้พระสงฆ์ได้ใช้สำหรับการอยู่จำพรรษา โดยในอดีต ชายไทยที่เป็นพุทธศาสนิกชนเมื่ออายุครบบวช (20 ปี) จะนิยมถือบรรพชาอุปสมบทเป็นพระสงฆ์เพื่ออยู่จำพรรษาตลอดฤดูพรรษากาลทั้ง 3 เดือน โดยพุทธศาสนิกชนไทยจะเรียกการบรรพชาอุปสมบทเพื่อจำพรรษาตลอดพรรษากาลว่า "บวชเอาพรรษา"
นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2551 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้วันเข้าพรรษาเป็น "วันงดดื่มสุราแห่งชาติ" โดยในปีถัดมา ยังได้ประกาศให้วันเข้าพรรษาเป็นวันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั่วราชอาณาจักร ทั้งนี้เพื่อรณรงค์ให้ชาวไทยตั้งสัจจะอธิษฐานงดการดื่มสุราในวันเข้าพรรษาและในช่วง 3 เดือนระหว่างฤดูเข้าพรรษา เพื่อส่งเสริมค่านิยมที่ดีให้แก่สังคมไทย
ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย

วันอังคารที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555

ประเพณีสงกรานต์


สงกรานต์ เป็นประเพณีเดือน 5 ของประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของจีน ศรีลังกาและทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึงการเคลื่อนย้าย ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี หรือคือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่ในความเชื่อของไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สงกรานต์ เป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณคู่มากับประเพณีตรุษ จึงมีการเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึงประเพณีส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับปีใหม่ คำว่าตรุษเป็นภาษาทมิฬ แปลว่าการสิ้นปี แต่ในปัจจุบัการเฉลิมฉลองในประเพณีสงกรานต์นั้นได้ละทิ้งความงดงามขอประเพณีในสมัยโบราณไปเกือบหมดสิ้น คงไว้เพียงแต่ภาพลักษณ์แห่งความสนุกสนาน ยิ่งไปกว่านั้นยังในการเล่นน้ำบางสถานที่ยังมุ่งเน้นในเรื่องเพศ ทำให้ความงดงามของประเพณีนี้สูญหายไปตามกาลเวลา
พิธีสงกรานต์ เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในสมาชิกในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมในวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติ และความเชื่อไป ในความเชื่อดั้งเดิมใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ การรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ในชีวิตสมัยใหม่ของสังคมไทยเกิดประเพณีกลับบ้านในเทศกาลสงกรานต์ นับวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว ในพิธีเดิมมีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข ปัจจุบันมีพัฒนาการและมีแนวโน้มว่าได้มีการเสริมจนคลาดเคลื่อนบิดเบือนไป เกิดการประชาสัมพันธ์ในเชิงการท่องเที่ยวว่าเป็น Water Festival หรือ สงครามน้ำ เป็นภาพของการใช้น้ำเพื่อแสดงความหมายเพียงประเพณีการเล่นน้ำ
การที่สังคมเปลี่ยนไป มีการเคลื่อนย้ายที่อยู่เข้าสู่เมืองใหญ่ และถือวันสงกรานต์เป็นวัน "กลับบ้าน" ทำให้การจราจรคับคั่งในช่วงวันก่อนสงกรานต์ วันแรกของเทศกาล และวันสุดท้ายของเทศกาล เกิดอุบัติเหตุทางถนนสูง นับเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงหลายด้านของสังคม นอกจากนี้ เทศกาลสงกรานต์ยังถูกใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว ทั้งต่อคนไทย และต่อนักท่องเที่ยวต่างประเทศ
ตำนานนางสงกรานต์
ตามจารึกที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม[3] กล่าวตามพระบาลีฝ่ายรามัญว่า ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีเศรษฐีคนหนึ่ง รวยทรัพย์แต่อาภัพบุตร ตั้งบ้านอยู่ใกล้กับนักเลงสุราที่มีบุตรสองคน วันหนึ่งนักเลงสุราต่อว่าเศรษฐีจนกระทั่งเศรษฐีน้อยใจ จึงได้บวงสรวงพระอาทิตย์ พระจันทร์ ตั้งจิตอธิษฐานอยู่กว่าสามปี ก็ไร้วี่แววที่จะมีบุตร อยู่มาวันหนึ่งพอถึงช่วงที่พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ เศรษฐีได้พาบริวารไปยังต้นไทรริมน้ำ พอถึงก็ได้เอาข้าวสารลงล้างในน้ำเจ็ดครั้ง แล้วหุงบูชาอธิษฐานขอบุตรกับรุกขเทวดาในต้นไทรนั้น รุกขเทวดาเห็นใจเศรษฐี จึงเหาะไปเฝ้าพระอินทร์ ไม่ช้าพระอินทร์ก็มีเมตตาประทานให้เทพบุตรองค์หนึ่งนาม "ธรรมบาล" ลงไปปฏิสนธิในครรภ์ภรรยาเศรษฐี ไม่ช้าก็คลอดออกมา เศรษฐีตั้งชื่อให้กุมารน้อยนี้ว่า ธรรมบาลกุมาร และได้ปลูกปราสาทไว้ใต้ต้นไทรให้กุมารนี้อยู่อาศัย
ต่อมาเมื่อธรรมบาลกุมารโตขึ้น ก็ได้เรียนรู้ซึ่งภาษานก และเรียนไตรเภทจบเมื่ออายุได้เจ็ดขวบ เขาได้เป็นอาจารย์บอกมงคลต่าง ๆ แก่คนทั้งหลาย อยู่มาวันหนึ่ง ท้าวกบิลพรหม ได้ลงมาถามปัญหากับธรรมบาลกุมาร 3 ข้อ ถ้าธรรมบาลกุมารตอบได้ก็จะตัดเศียรบูชา แต่ถ้าตอบไม่ได้จะตัดศีรษะธรรมบาลกุมารเสีย ท้าวกบิลพรหมถามธรรมบาลกุมารว่า ตอนเช้าศรีอยู่ที่ไหน ตอนเที่ยงศรีอยู่ที่ไหน และตอนค่ำศรีอยู่ที่ไหน ทันใดนั้นธรรมบาลกุมารจึงขอผัดผ่อนกับท้าวกบิลพรหมเป็นเวลา 7 วัน
ทางธรรมบาลกุมารก็พยายามคิดค้นหาคำตอบ ล่วงเข้าวันที่ 6 ธรรมบาลกุมารก็ลงจากปราสาทมานอนอยู่ใต้ต้นตาล เขาคิดว่า ขอตายในที่ลับยังดีกว่าไปตายด้วยอาญาท้าวกบิลพรหม บังเอิญบนต้นไม้มีนกอินทรี 2 ตัวผัวเมียเกาะทำรังอยู่ นางนกอินทรีถามสามีว่า พรุ่งนี้เราจะไปหาอาหารแห่งใด สามีตอบนางนกว่า เราจะไปกินศพธรรมบาลกุมาร ซึ่งท้าวกบิลพรหมจะฆ่าเสีย ด้วยแก้ปัญหาไม่ได้ นางนกจึงถามว่า คำถามที่ท้าวกบิลพรหมถามคืออะไร สามีก็เล่าให้ฟัง ซึ่งนางนกก็ไม่สามารถตอบได้ สามีจึงเฉลยว่า ตอนเช้า ศรีจะอยู่ที่หน้า คนจึงต้องล้างหน้าทุก ๆ เช้า ตอนเที่ยง ศรีจะอยู่ที่อก คนจึงเอาเครื่องหอมประพรมที่อก ส่วนตอนเย็น ศรีจะอยู่ที่เท้า คนจึงต้องล้างเท้าก่อนเข้านอน ธรรมบาลกุมารก็ได้ทราบเรื่องที่นกอินทรีคุยกันตลอด จึงจดจำไว้
ครั้นรุ่งขึ้น ท้าวกบิลพรหมก็มาตามสัญญาที่ให้ไว้ทุกประการ ธรรมบาลกุมารจึงนำคำตอบที่ได้ยินจากนกไปตอบกับท้าวกบิลพรหม ท้าวกบิลพรหมจึงตรัสเรียกธิดาทั้งเจ็ดอันเป็นบาทบาจาริกาพระอินทร์มาประชุมพร้อมกัน แล้วบอกว่า เราจะตัดเศียรบูชาธรรมบาลกุมาร ถ้าจะตั้งไว้ยังแผ่นดิน ไฟก็จะไหม้โลก ถ้าจะโยนขึ้นไปบนอากาศ ฝนก็จะแล้ง ถ้าจะทิ้งในมหาสมุทร น้ำก็จะแห้ง จึงให้ธิดาทั้งเจ็ดนำพานมารองรับ แล้วก็ตัดเศียรให้นางทุงษะ ผู้เป็นธิดาองค์โต จากนั้นนางทุงษะก็อัญเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมเวียนขวารอบเขาพระสุเมรุ 60 นาที แล้วเก็บรักษาไว้ในถ้ำคันธุลี ในเขาไกรลาศ
จากนั้นมาทุก ๆ 1 ปี ธิดาของท้าวกบิลพรหมทั้ง 7 ก็จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาทำหน้าที่อัญเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมแห่ไปรอบเขาพระสุเมรุ เป็นเวลา 60 นาที แล้วประดิษฐานตามเดิม ในแต่ละปีนางสงกรานต์แต่ละนางจะทำหน้าที่ผลัดเปลี่ยนกันตามวันมหาสงกรานต์ ดังนี้
    ถ้าวันอาทิตย์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม ทุงษะเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกทับทิม อาภรณ์แก้วปัทมราช ภักษาหารอุทุมพร (ผลมะเดื่อ) พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงสังข์ เสด็จมาบนหลังครุฑ
    ถ้าวันจันทร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม โคราคะเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกปีบ อาภรณ์แก้วมุกดา ภักษาหารเตลัง (น้ำมัน) พระหัตถ์ขวาทรงพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จมาบนหลังพยัคฆ์ (เสือ)
    ถ้าวันอังคารเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม รากษสเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกบัวหลวง อาภรณ์แก้วโมรา ภักษาหารโลหิต (เลือด) พระหัตถ์ขวาทรงตรีศูล พระหัตถ์ซ้ายทรงธนู เสด็จมาบนหลังพระยาวราหะ (หมู)
    ถ้าวันพุธเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม มัณฑาเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกจำปา อาภรณ์แก้วไพฑูรย์ ภักษาหารนมเนย พระหัตถ์ขวาทรงเหล็กแหลม พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จมาบนหลังคัทรภะ (ลา)
    ถ้าวันพฤหัสบดีเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม กิริณีเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกมณฑา อาภรณ์แก้วมรกต ภักษาหารถั่วงา พระหัตถ์ขวาทรงของ้าว พระหัตถ์ซ้ายทรงปืน เสด็จมาบนหลังพระยาคชสาร (ช้าง)
    ถ้าวันศุกร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม กิมิทาเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกจงกลนี อาภรณ์แก้วบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำ พระหัตถ์ขวาทรงพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงพิณ เสด็จมาบนหลังมหิงสา (ควาย)
    ถ้าวันเสาร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม มโหธรเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกสามหาว อาภรณ์แก้วนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงตรีศูล เสด็จมาบนหลังมยุรา (นกยูง)
สำหรับความเชื่อทางล้านนานั้นจะมีว่า
    วันอาทิตย์ ชื่อ นางแพงศรี
    วันจันทร์ ชื่อ นางมโนรา
    วันอังคาร ชื่อ นางรากษสเทวี
    วันพุธ ชื่อ นางมันทะ
    วันพฤหัส ชื่อ นางกัญญาเทพ
    วันศุกร์ ชื่อ นางริญโท
    วันเสาร์ ชื่อ นางสามาเทวี
กิจกรรมในวันสงกรานต์
    การทำบุญตักบาตร ถือว่าเป็นการสร้างบุญสร้างกุศลให้ตัวเอง และ อุทิศส่วนกุศลนั้นแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว การทำบุญแบบนี้มักจะเตรียมไว้ล่วงหน้า นำอาหารไปตักบาตรถวายพระภิกษุที่ศาลาวัด ซึ่งจัดเป็นที่รวมสำหรับทำบุญ ในวันนี้หลังจากที่ได้ทำบุญเสร็จแล้ว ก็จะมีการก่อพระทรายอันเป็นประเพณีด้วย
การสรงน้ำพระ
    การรดน้ำ เป็นการอวยพรปีใหม่ให้กันและกัน น้ำที่รดมักใช้น้ำหอมเจือด้วยน้ำธรรมดา
    การสรงน้ำพระจะรดน้ำพระพุทธรูปที่บ้านและที่วัด และบางที่จัด สรงน้ำพระสงฆ์ ด้วย
    บังสุกุลอัฐิ กระดูกญาติผู้ใหญ่ที่ตายแล้ว มักก่อเป็นเจดีย์ แล้วนิมนต์พระไปบังสุกุล
    การรดน้ำผู้ใหญ่ คือการไปอวยพรให้ผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ครูบาอาจารย์ ท่านผู้ใหญ่มักจะนั่งลงแล้วผู้ที่รดก็จะเอาน้ำหอมเจือกับน้ำรดที่มือท่าน ท่านจะให้ศีลให้พรผู้ที่ไปรด ถ้าเป็นพระก็จะนำผ้าสบงไปถวายให้ท่านผลัดเปลี่ยนด้วย หากเป็นฆราวาสก็จะหาผ้าถุง ผ้าขาวม้าไปให้
    การดำหัว ก็คือการรดน้ำนั่นเอง แต่เป็นคำเมืองทางภาคเหนือ การดำหัวเรียกกันเฉพาะการรดน้ำผู้ใหญ่ที่เราเคารพนับถือ ผู้สูงอายุ คือการขอขมาในสิ่งที่ได้ล่วงเกินไปแล้ว หรือ การขอพรปีใหม่จากผู้ใหญ่ ของที่ใช้ในการดำหัวส่วนมากมีผ้าขนหนู มะพร้าว กล้วย และ ส้มป่อย
    การปล่อยนกปล่อยปลา ถือเป็นการล้างบาปที่ทำไว้ เป็นการสะเดาะเคราะห์ร้ายให้มีแต่ความสุขความสบายในวันขึ้นปีใหม่
    การนำทรายเข้าวัด ทางภาคเหนือนิยมขนทรายเข้าวัดเพื่อเป็นนิมิตโชคลาภ ให้มีความสุขความเจริญ เงินทองไหลมาเทมาดุจทรายที่ขนเข้าวัด
ข้อมูลจาก...วิกิพีเดีย

วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2555

“มาฆะบูชา" แห่ผ้าขึ้นธาตุนครศรีธรรมราช


            “แห่ผ้าขึ้นธาตุหมายถึงการแห่แหนผ้าพระบฎ หรือผ้าสีแดง เหลือง และขาวขึ้นสักการะพระบรมธาตุเจดีห์นครศรีธรรมราช ด้วยการนำไปห่มรอบฐานองค์พระบรมธาตุเจดีห์ ซึ่งประเพณีประพฤติปฏิบัติเช่นนี้ของเหล่าชาวพุทธมามกะนครศรีธรรมราช ได้ปฏิบัติสืบเนื่องมาเป็นเวลายาวนานกว่า 800 ปีมาแล้ว ตั้งแต่นครศรีธรรมราชยังเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่แห่งผืนแผ่นดิบแถบคาบสมุทร มลายู
            ประเพณีที่สำคัญเช่นนี้มีตำนานจารึกไว้ในหนังสือบุดหลายแหล่งว่ายุคสมัย ที่พญาทั้งสามพี่น้องคือ พญาศรีธรรมาโศกราช พญาจันทรภาณุ และพญาพงหสุระ ปกครองเมืองนครศรีธรรมราช ก่อนวันพิธีสมโภชองค์พระบรมธาตุนครศรีธรรมราชตามโบราณราชประเพณีนั้น คลื่นทะเลได้ซัดเอาผ้าแดงผืนหนึ่ง มีลายเขียนเป็นเรื่องราวในพุทธประวัติที่เรียกว่า พระบฎ ขึ้นที่หาดปากพนัง ชาวปากพนังได้นำขึ้นถวายพญาศรีธรรมาโศกราชเจ้าเมือง
            เมื่อได้รับพระบฎ พญาศรีธรรมาโศกราชโปรดให้สอบสวนได้ความว่า พระบฎดังกล่าวนั้นเดินทางมาจากเมืองอินทรปัตย์ในเขมร ชาวเมืองจะนำไปบูชาพระเขี้ยวแก้วในศรีลังกา หากแต่พายุวัดเรือจนเรือจมลม ชาวเมืองอินทรปัตย์เหลือรอดชีวิตอยู่เพียงเล็กน้อย และได้พร้อมใจกันถวายผ้าพระบฎนั้นแก่พญาศรีธรรมาโศกราช
           พญาศรีธรรมาโศกราชพิจารณาเห็นว่าพระบฎผืนนั้นเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพราะแม้จะลอยมาในน้ำและผ่านการซักล้างมาแล้ว ลวดลายในผืนผ้าก็มิได้ลบเลือนกลับชัดเจนยิ่งขึ้นกว่าเก่า จึงโปรดให้แห่แหนพระบฎนั้นขึ้นห่มเจดีย์พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช จนเกิดเป็นประเพณีประจำปีของเจ้าเมืองนครมาตลอดทุกยุคทุกสมัยจนมาถึง ปัจจุบัน
           ในปีนี้ ผศ.เชาวนวัศน์ เสนพงศ์ นายกเทศมนตรีนครนครศรีธรรมราช ได้ร่วมกับหลายฝ่ายในการจัดงานประเพณีมาฆะบูชาแห่ผ้าขึ้นธาตุนานาชาติประจำ ปี 2555 ขึ้น สำหรับประเพณีนี้ชาวนครศรีธรรมราชได้อนุรักษ์และปฏิบัติสืบเนื่องมาโดยไม่ ได้ขาดเป็นเวลากว่า 800 ปีมาแล้วซึ่งได้ดำเนินอยู่ด้วยพลังแห่งความเชื่อและศรัทธาในพุทธานุภาพ ซึ่งในปีนี้จังหวัดนครศรีธรรมราชได้กำหนดให้มีการจัดงานขึ้นระหว่างวันที่ 1-7มีนาคม 2555 ณ สถานที่สำคัญรวม 3 แห่ง ในเขตตัวเมืองนครศรีธรรมราช
              ประกอบด้วย ที่บริเวณพุทธภูมิ สวนสาธารณะศรีธรรมโศกราช และวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ภายใต้การกำกับดูแลของเทศบาลนครนครศรีธรรมราช และมหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราชทั้งนี้เพื่อส่งเสริมและรักษาไว้ซึ่ง ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ ที่ถือเป็นประเพณีสำคัญทางพระพุทธศาสนา และประเพณีสำคัญคู่เมืองนครที่เป็นเอกลักษณ์ประจำจังหวัด และหนึ่งเดียวของประเทศไทย
            “โดยการจัดกิจกรรมตลอดทั้งสัปดาห์ จะประกอบด้วย กิจกรรมการเชิญพระพุทธ การสวดมนต์หมู่ทำนองสรภัญญะ ของนักเรียน 2,600 คน การเทศน์มหาชาติ 13 กัณฑ์ พิธีมหาพุทธาภิเษกเบิกเนตรองค์พระโพธิสัตว์กวนอิม พิธีสวดพุทธาภิเษกผ้าพระบฎ พิธีกวนข้ามธุปายาส การแสดงนิทรรศการผ้าพระบฎนานาชาติ การแสดงของชุมชนเทศบาลนครนครศรีธรรมราช การฉายภาพยนตร์เรื่อง องคุลีมาล และการแสดง แสง สี เสียง Mini Light and Sound พุทธประวัติ รวม 6 คืน จึงขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนเข้าร่วมแสวงบุญครั้งใหญ่ที่นครศรีธรรมราช โดยทั่วถึงกัน
      
       พุทธศาสนิกชนชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช เชื่อว่า การทำบุญและการกราบไหว้บูชาที่ให้ได้กุศลจริงจะต้องปฏิบัติต่อพระพักตร์ของ พระพุทธเจ้า และใกล้ชิดกับพระพุทธเจ้าให้มากที่สุด เมื่อพระองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว ก็ยังมีสัญลักษณ์ของพระพุทธเจ้าอยู่ ได้แก่ พระธาตุเจดีย์ พระพุทธรูป การกราบไหว้บูชาสิ่งเหล่านี้ เท่ากับเป็นการกราบไหว้บูชาต่อพระพักตร์พระพุทธองค์เช่นเดียวกัน
      
       การที่ชาวนครศรีธรรมราชนำผ้าไปบูชาพระบรมธาตุเจดีย์ ด้วยการโอบรอบองค์พระ-บรมธาตุเจดีย์ ถือว่าพระบรมธาตุเจดีย์เป็นเสมือนพระพุทธเจ้าเป็นการบูชาที่สนิทแนบกับพระ พุทธองค์
      
       นอกจากพิธรมาฆะบูชาแห่งผ้าขึ้นธาตุแล้ว ปีนี้ยังเป็นปีแห่งการเฉลิมฉลอง พุทธชยันตี ครบ 2,600 ปี พุทธชยันตี โดยรากศัพท์คำว่าชยันตีมาจากคำว่า ชยอันหมายถึง ชัยชนะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีต่อหมู่มารและกิเลศทั้งปวงอย่างสิ้นเชิง อันทำให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้บังเกิดขึ้นในโลก พุทธชยันตี จึงมีความหมายว่า เป็นการตรัสรู้ และการบังเกิดขึ้นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย
          สำหรับพุทธ -ชยันตี 2,600 แห่งการตรัสรู้คำนวณจากการนำปีพุทธศักราชที่เริ่มนับจากการปรินิพพานบวกด้วย 45 อันเป็นจำนวนพรรษาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ดำเนินพุทธกิจ ภายหลังการตรัสรู้จวบจนเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานนั่นเอง

ข้อมูลจาก...ผู้จัดการออนไลน์

วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555

ตรุษจีนภูเก็ต

ชาวภูเก็ตเชื้อสายจีน โดยส่วนมากเป็นชาวจีนฮกเกี้ยนและจีนช่องแคบ(เปอรานากัน) จะมีระยะวันตรุษจีนทั้งสิ้นรวม 9 วันนับตั้งแต่ขึ้นปีใหม่จะต่างกับชาวจีนแต้จิ๋ว ซึ่งวันตรุษจีนจะสิ้นสุดลงในวันที่ 7 โดยวันตรุษจีนของชาวภูเก็ตจะสิ้นสุดลงเมื่อหลังเที่ยงคืนของวันที่ 9 หรือ วันป่ายทีก้องไหว้เทวดา และ จะถือประเพณีปฏิบัติไหว้อยู่ 6 วัน ได้แก่ก่อนตรุษจีนไหว้ 2 วัน และ หลังตรุษจีนไหว้ 4 วัน คือ
วันส่งเทพเจ้าเตาไฟขึ้นสวรรค์
ในวันที่ 24 ค่ำ เดือน 12 จ้าวฮุ่นกงเสด็จขึ้นสวรรค์เพื่อเข้าเฝ้าหยกอ๋องซ่งเต้ เพื่อกราบทูลเรื่องราวต่างๆภายในหนึ่งปีของเจ้าบ้านทั้งดีและชั่วจามบัญชีที่ได้จดบันทึก
ภาคเช้า เจ้าบ้านเตรียมผลไม้ 3 -7 อย่าง เพื่อสักการะเทพเจ้าทั้งสามแห่งโดยเฉพาะหน้าเตาไฟในครัวเรือนจ้าวฮุ่นกง
วันไหว้บรรพชน
คือวันสุดท้ายของเดือน 12 บางตำนานกล่าวว่าเทพเจ้าทั้งปวงจะเสด็จลงมายังโลกมนุษย์ในช่วง วันที่ 28 -30 จะจัดเครื่องเซ่นไหว้ตามจุดดังนี่
ทีก้อง หรือ หยกอ๋องซ่งเต้ และเทพเจ้าทั้งบ้าน บ้านของคนจีนฮกเกี้ยนภูเก็ต จะมีป้ายและที่ปักธูปเทียนอยู่ทางซ้ายมือของหน้าบ้าน
เทพเจ้าประจำบ้าน หรือ เทพเจ้าประจำตระกูล ส่วนใหญ่จะอยู่ตรงห้องโถ่งของหน้าบ้าน เป็นเทพเจ้าประจำบ้านที่นับถือกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ
บรรพชน จ้อกง จ้อม่า จ้อกงโป๋ บรพพบุรุษที่ล่วงลับ
จ้าวอ๋อง หรือ จ้าวฮุ่นก้อง คือเ เทพเจ้าครัวหรือ เทพเจ้าเตาไฟ
โฮ่เฮียตี่ คือ ไหว้บรรดาวิญญาณผีไม่มีญาติ
หมึงสิน คือ ไหว้เทพเจ้าประจำประตูบ้าน หรือ ทวารบาล บ้าน
ช่วงเวลาจะเซ่นไหว้ มี 3 เวลาคือ
เวลาเช้า ประมาณ 7 - 8 นาฬิกา ไหว้ทีก้อง เทพเจ้าบ้าน และจ้าวฮุ่นก้อง (ป่ายสินเทียนก๊วน/拜神天官)
เวลา ประมาณ 11 นาฬิกา ถึง ก่อนเทียงวัน ไหว้บรรพบุรุษ จ้อกง จ้อม่า และบรรพชน (ป่ายจ้อกง/拜祖公)
เวลา ประมาณ 15 -16 นาฬิกา ไหว้โฮ่เฮียตี่ บรรดาผีไม่มีญาติ (ป่ายโฮ่เฮียตี่/拜好兄弟)
เครื่องเซ่นไหว้ตามแบบของชาวจีนฮกเกี้ยน
เวลาเช้าไหว้ทั้ง 3 แห่งดั้งนี้
ทีก้อง
หมูต้ม 1 ชิ้น
หมี่เหลืองดิบ
ปูต้ม
กุ้งต้ม
หมึกแห้ง
สุราขาวจีน
เทียนก้องกิม(กระดาษทองฮกเกี้ยนแผ่นใหญ่)
เทพเจ้าประจำบ้าน หรือ ประจำตระกูล
หัวหมู 1 หัว
หมี่เหลืองดิบ
ปูต้ม
กุ้งต้ม
หมึกแห้ง
สุราขาวจีน
ไก่ต้มมีหัว
เทพเจ้าเตาไฟ หรือ จ้าวฮุ่นก้อง
หมี่เหลืองดิบ
ปูต้ม
กุ้งต้ม
หมึกแห้ง
สุราขาวจีน
อาหารที่ไหว้เสร็จจากช่วงเช้าทุกชนิดนำไปประกอบอาหารเพื่อนไหว้ในช่วง บ่าย และเย็นต่อไป
เวลาบ่ายไหว้ จ้อกง จ้อม่า บรรพชน
ผลไม้ 3 - 7 ชนิด
องุ่น (ภาษาฮกเกี้ยน โป่โต๋)
แอปเปิล (ภาษาฮกเกี้ยน เป่งโก้)
สับปะรด (ภาษาฮกเกี้ยน อ่องหลาย)
ส้ม (ภาษาฮกเกี้ยน ก้าม)
เงาะ (ภาษาฮกเกี้ยน มอต่าน)
ลำไย (ภาษาฮกเกี้ยน เหล้งเต๋)
ขนมหวาน
ตี่โก้ย (ขนมเข่ง )
ฮวดโก้ย (ขนมถ้วยฟู)
อั้งกู้โก้ย (ขนมเต่า)
บีโก้ (ข้าวเหนียวดำกวน)
แป๊ะทงโก๊
ก่าวเตี่ยนโก้ย (ขนมชั้น)
อาหารคาว
ผัดบังกวน (ผัดมันแกว)
โอต้าว (หอยทอดฮกเกี้ยน หารับประทานได้ที่ภูเก็ต)
ผัดบีฮุยะ (ข้าวเหนียวผัดกับเลือดหมูและกุ้ยช่าย)
ปลาทอดมีหัวมีหาง 1 ตัว
ต้าวอิ่วบ๊ะ (หมูผัดซีอิ๋ว)
ทึ่งบะกู๊ดเกี่ยมฉ่าย (ต้มจืดผักกาดดองซี่โคร่งหมู)
แกงเผ็ดไก้ใส่มันฝรั่ง
ผัดผัก ประกอบด้วย ซวนน่า กะหล่ำปลี ก่าเป๊ก
โปเปี๊ยะสด
โลบะ พร้อมน้ำจิ้ม
ซำเซ่ง;หง่อเซ่ง (เนื้อสัตว์ 3-5 ชนิด)
ข้าวสวย 5 ถ้วย พร้อมตะเกียบ
เต๋ (น้ำชา) 5 จอก
จุ๊ย (น้ำเปล่า) 1 แก้ว
สุราขาว 5 จอก
เวลาเย็นไหว้ โฮ่เฮียตี่
องุ่น (ภาษาฮกเกี้ยน โป่โต๋)
แอปเปิล (ภาษาฮกเกี้ยน เป่งโก้)
สับปะรด (ภาษาฮกเกี้ยน อ่องหลาย)
ของไหว้จากช่วงเช้าแล้วแต่เจ้าบ้านจะนำไปทำเป็นอะไร
ไหว้วันขึ้นปีใหม่
วันที่ 1 ค่ำ เดือน 1 เป็นวันขึ้นปีใหม่ ช่วงเช้าเรียกว่า ป้ายเฉ่งเต๋ ด้วยการนำผลไม่มาไหว้เทพเจ้าประจำบ้าน
วันรับเสด็จจ้าวฮุ่นก้องเทพเจ้าเตาไฟ
ในที่ 4 ค่ำ เดือน 1 จะทำการ เชี้ยสิน เชิญพระจ้าวฮุ่นก้องกลับมาอยู่ยังบ้านในครัวเช่นเดิม โดยไหว้ตอนเช้า ของเซ่นไหว้ดังนี่
ผลไม้
เต่เหลี่ยว (จันอับ ของฮกเกี้ยนกับแต้จิ๋วจะมีเครื่องประกอบไม่เหมือนกัน)
โอต้าว (เพื่อเป็นกาวติดเงินติดทองที่จ้าวฮุ่นก้องนำมาให้จากสวรรค์)
น้ำชา
กระดาษไหว้เจ้า
วันป้ายจ่ายสินเอี๋ย หรือ วันไหว้เทพเจ้าไฉสิ่งเอี้ย
วันที่ 5 ค่ำ เดือน 1 เทพเจ้าแห่งโชคลาภจะเสด็จจากสวรรค์ตามฤกษ์ยามของแต่ละปี เพื่อลงมาประทานโชคลาภ
วันป่ายทีก้องแซ (拜天公) ไหว้เทวดา วันประสูติหยกอ๋องซ่งเต้
วันไหว้เทวดา ซึ่งเป็นวันที่สืบเนื่องต่อจากวันตรุษจีนเพียง 8 วัน หรือที่ชาวจีนเรียกว่า เก้าโหง็ย-โช่ยเก้า ถี่ก้งแซ้ซ่ง ซึ่งชาวจีนถือว่าเป็นวันเกิดของ หยกอ๋องซ่งเต้ เทพผู้เป็นใหญ่บนสรวงสวรรค์ที่ชาวจีนให้ความเคารพบูชาซึ่งมีความสำคัญไม่แพ้ กัน โดยในวันไหว้เทวดาของชาวจีนจะนิยมถือปฏิบัติกันในวันขึ้น 9 ค่ำ และสิ่งที่ขาดมิได้ในวันนั้น คือเครื่องเซ่นไหว้ที่นำมาประกอบในพิธีบูชาเทวดา หยกอ๋องซ่งเต้ สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือ หง่อซิ่ว หรือ เครื่องน้ำตาลทำเป็นรูป 5 ชนิด และ ต้นอ้อย มีความเชื่อว่ามีครั้งหนึ่งในสมัยราชวงศ์หมิงชาวฮกเกี้ยนทุกรุกรานจากญี่ปุ่นจึงพากันไปหลบแอบในดงอ้อย จนญี่ปุ่นกลับไป และตรงกับวันป่ายทีก้องพอดีชาวฮกเกี้ยนเลยเชื่อว่าเป็นเพราะหยกอ๋องซ่งเต้ช่วยชีวิตเอาไหว้จึงนำอ้อยมาไหว้ด้วยพีเดีย
ข้อมูลจาก...วิกิพีดีย