วันพุธที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2553

กำหนดการกินเจ จังหวัดภูเก็ต ประจำปี 2553 เริ่ม 7-16 ตุลาคม


พฤหัสบดี ที่ 7 ตุลาคม 2553

ศาลเจ้ากะทู้

17.00 น. พิธีขึ้นเสาโกเต้ง

24.00 น. ประกอบพิธีอัญเชิญพระยกอ๋องซ่งเต (พระอิศวร) และพระกิ๋วอ๋องไต่เต (ผู้เป็นใหญ่ทั้งเก้า)

24.30 น. ประกอบพิธีอัญเชิญตะเกียงสู่ยอดเสาโกเต้ง

ศาลเจ้าจุ้ยตุ่ย

17.09 น. พิธีขึ้นเสาโกเต้ง

23.09 น. ประกอบพิธีอัญเชิญพระยกอ๋องซ่งเต (พระอิศวร) และพระกิ๋วอ๋องไต่เต (ผู้เป็นใหญ่ทั้งเก้า)

23.30 น. ประกอบพิธีอัญเชิญตะเกียงสู่ยอดเสาโกเต้ง

ศาลเจ้าบางเหนียว

17.00 น. พิธีขึ้นเสาโกเต้ง

22.00 น. ประกอบพิธีอัญเชิญพระยกอ๋องซ่งเต (พระอิศวร)

23.00 น. ประกอบพิธีอัญเชิญพระกิ๋วอ๋องไต่เต (ผู้เป็นใหญ่ทั้งเก้า) ณ สะพานหิน

23.30 น. ประกอบพิธีป้างกุ้น (พิธีปล่อยทหารเพื่อรักษาศาลเจ้า) และพิธีอัญเชิญตะเกียงสู่ยอดเสาโกเต้ง

ศาลเจ้าซุ่ยบุ่นต๋อง

16.00 น. พิธีขึ้นเสาโกเต้ง

24.00 น. ประกอบพิธีอัญเชิญพระยกอ๋องซ่งเต (พระอิศวร) และพระกิ๋วอ๋องไต่เต (ผู้เป็นใหญ่ทั้งเก้า)

24.30 น. ประกอบพิธีอัญเชิญตะเกียงสู่ยอดเสาโกเต้ง

ศาลเจ้าสามกอง

17.45 น. พิธีขึ้นเสาโกเต้ง

24.00 น. ประกอบพิธีอัญเชิญพระยกอ๋องซ่งเต (พระอิศวร) และพระกิ๋วอ๋องไต่เต (ผู้เป็นใหญ่ทั้งเก้า)

24.30 น. ประกอบพิธีอัญเชิญตะเกียงสู่ยอดเสาโกเต้ง

ศาลเจ้าเชิงทะเล

16.59 น. พิธีขึ้นเสาโกเต้ง

21.09 น. ประกอบพิธีอัญเชิญพระยกอ๋องซ่งเต (พระอิศวร)

23.00 น. ประกอบพิธีอัญเชิญพระกิ๋วอ๋องไต่เต (ผู้เป็นใหญ่ทั้งเก้า) ณ หาดสุรินทร์

23.30 น. ประกอบพิธีอัญเชิญตะเกียงสู่ยอดเสาโกเต้ง

ศาลเจ้ายกเค่เก้ง (ซอยพะเนียง)

17.00 น. พิธีขึ้นเสาโกเต้ง

22.30 น. ประกอบพิธีอัญเชิญพระยกอ๋องซ่งเต (พระอิศวร)

24.00 น. ประกอบพิธีอัญเชิญพระกิ๋วอ๋องไต่เต (ผู้เป็นใหญ่ทั้งเก้า)

24.30 น. ประกอบพิธีอัญเชิญตะเกียงสู่ยอดเสาโกเต้ง

ศาลเจ้าสะปำ

17.45 น. พิธีขึ้นเสาโกเต้ง

24.00 น. ประกอบพิธีอัญเชิญพระยกอ๋องซ่งเต (พระอิศวร) และพระกิ๋วอ๋องไต่เต (ผู้เป็นใหญ่ทั้งเก้า)

24.30 น. ประกอบพิธีอัญเชิญตะเกียงสู่ยอดเสาโกเต้ง

-------------------------------

ศุกร์ ที่ 8 ตุลาคม 2553

ศาลเจ้ากะทู้

05.00/18.00 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

ศาลเจ้าจุ้ยตุ่ย

ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

ศาลเจ้าบ้านท่าเรือ

12.00/19.00 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

ศาลเจ้าซุ่ยบุ่นต๋อง

20.00 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

ศาลเจ้าสามกอง

ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

ศาลเจ้าเชิงทะเล

15.00 น. ประกอบพิธีโข้กุ้น (เลี้ยงอาหารทหารที่รักษาศาลเจ้า)

18.00 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

ศาลเจ้ายกเค่เก้ง (ซอยพะเนียง)

ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

ศาลเจ้าสะปำ

17.45 น. ประกอบพิธีอัญเชิญลำเต้า-ปักเต้า (พิธีอัญเชิญผู้ถือบัญชีคนเกิดคนตาย) ที่สะพานหิน

--------------------------------

เสาร์ ที่ 9 ตุลาคม 2553

ศาลเจ้ากะทู้

05.00 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

ศาลเจ้าจุ้ยตุ่ย

ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

และพิธีป้ายเล่าฉ้ายอิ้ว (พิธีเซ่นไหว้ดวงวิญญาณผู้เคยร่วมงานกินผัก)

ศาลเจ้าบ้านท่าเรือ

ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

ศาลเจ้าซุ่ยบุ่นต๋อง

20.00 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก) และพิธีถวายเก้งเต๋ (พิธีถวายบวงสรวง)

ศาลเจ้าสามกอง

ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

ศาลเจ้าเชิงทะเล

15.00 น. ประกอบพิธีโข้กุ้น (เลี้ยงอาหารทหารที่รักษาศาลเจ้า)

18.00 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

ศาลเจ้ายกเค่เก้ง (ซอยพะเนียง)

20.00 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

ศาลเจ้าสะปำ

ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

-------------------------------------

อาทิตย์ ที่ 10 ตุลาคม 2553

ศาลเจ้ากะทู้

05.00 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

16.00 น. ประกอบพิธีป้างกุ้น (พิธีปล่อยทหารออกรักษาบริเวณงาน)

16.30 น. ประกอบพิธีโข้กุ้น (เลี้ยงอาหารทหารที่รักษาศาลเจ้า)

18.00 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

19.30 น. ประกอบพิธีอัญเชิญลำเต้า-ปักเต้า (พิธีอัญเชิญผู้ถือบัญชีคนเกิดคนตาย)

ศาลเจ้าจุ้ยตุ่ย

15.09 น. ประกอบพิธีโข้กุ้น (เลี้ยงอาหารทหารที่รักษาศาลเจ้า)

20.45 น. ประกอบพิธีอัญเชิญลำเต้า-ปักเต้า (พิธีอัญเชิญผู้ถือบัญชีคนเกิดคนตาย)

ศาลเจ้าบางเหนียว

15.00 น. ประกอบพิธีโข้กุ้น (เลี้ยงอาหารทหารที่รักษาศาลเจ้า)

ศาลเจ้าบ้านท่าเรือ

17.30 น. ประกอบพิธีโข้กุ้น (เลี้ยงอาหารทหารที่รักษาศาลเจ้า)

18.30 น. ประกอบพิธีอัญเชิญลำเต้า-ปักเต้า (พิธีอัญเชิญผู้ถือบัญชีคนเกิดคนตาย)

ศาลเจ้าซุ่ยบุ่นต๋อง

15.00 น. ประกอบพิธีโข้กุ้น (เลี้ยงอาหารทหารที่รักษาศาลเจ้า)

20.00 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

ศาลเจ้าสามกอง

15.09 น. ประกอบพิธีโข้กุ้น (เลี้ยงอาหารทหารที่รักษาศาลเจ้า)

20.00 น. ประกอบพิธีโก้ยชิดแช (พิธีบวงสรวงดาวประจำวันทั้ง 7)

ศาลเจ้าเชิงทะเล

15.00 น. ประกอบพิธีโข้กุ้น (เลี้ยงอาหารทหารที่รักษาศาลเจ้า)

15.30 น. ประกอบพิธีอวยพรให้บ้านบางเทา

19.00 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

ศาลเจ้ายกเค่เก้ง (ซอยพะเนียง)

15.30 น. ประกอบพิธีโข้กุ้น (เลี้ยงอาหารทหารที่รักษาศาลเจ้า)

20.00 น. ประกอบพิธีอัญเชิญลำเต้า-ปักเต้า (พิธีอัญเชิญผู้ถือบัญชีคนเกิดคนตาย) ณ ชายหาดเกาะสิเหร่

ศาลเจ้าสะปำ

07.00 น. ประกอบพิธีอิ้วเก้ง (พิธีแห่พระรอบตัวเมือง)15.45 น. ประกอบพิธีโข้กุ้น (เลี้ยงอาหารทหารที่รักษาศาลเจ้า)

------------------------------------

จันทร์ ที่ 11 ตุลาคม 2553

ศาลเจ้ากะทู้

05.00/18.00 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

ศาลเจ้าจุ้ยตุ่ย

ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก) และพิธีป้ายเล่าฉ้ายอิ้ว (พิธีเซ่นไหว้ดวงวิญญาณผู้เคยร่วมงานกินผัก)

ศาลเจ้าบางเหนียว

ประกอบพิธีป้ายเล่าฉ้ายอิ้ว (พิธีเซ่นไหว้ดวงวิญญาณผู้เคยร่วมงานกินผัก)

ศาลเจ้าบ้านท่าเรือ

12.00/19.30 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

ศาลเจ้าซุ่ยบุ่นต๋อง

20.00 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

ศาลเจ้าสามกอง

05.30 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

07.19 น. ประกอบพิธีอิ้วเก้ง (พิธีแห่พระรอบตัวเมือง)12.00 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

18.00 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

ศาลเจ้าเชิงทะเล

15.00 น. ประกอบพิธีโข้กุ้น (เลี้ยงอาหารทหารที่รักษาศาลเจ้า)

15.30 น. ประกอบพิธีอวยพรให้บ้านหม่าหนิกและบ้านเชิงทะเล

19.00 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

ศาลเจ้ายกเค่เก้ง (ซอยพะเนียง)

07.30 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

20.00 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

ศาลเจ้าสะปำ

07.30 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

--------------------------------

อังคาร ที่ 12 ตุลาคม 2553

ศาลเจ้ากะทู้

05.00/18.00 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

ศาลเจ้าจุ้ยตุ่ย

ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

ศาลเจ้าบางเหนียว

15.00 น. ประกอบพิธีโข้กุ้น (เลี้ยงอาหารทหารที่รักษาศาลเจ้า)

20.00 น. ประกอบพิธีป้ายชิดแช (พิธีบวงสรวงดาวประจำวันทั้ง 7)

ศาลเจ้าบ้านท่าเรือ

07.30 น. ประกอบพิธีอิ้วเก้ง (พิธีแห่พระรอบตัวเมือง)

ศาลเจ้าซุ่ยบุ่นต๋อง

20.00 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

24.00 น. ประกอบพิธีถวายเก้งเต๋ (พิธีถวายบวงสรวง)

ศาลเจ้าสามกอง

05.30 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

15.09 น. ประกอบพิธีโข้กุ้น (เลี้ยงอาหารทหารที่รักษาศาลเจ้า)

18.00 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

ศาลเจ้าเชิงทะเล

15.00 น. ประกอบพิธีโข้กุ้น (เลี้ยงอาหารทหารที่รักษาศาลเจ้า)

20.09 น. ประกอบพิธีโก้ยชิดแช (พิธีบวงสรวงดาวประจำวันทั้ง 7)

23.00 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

ศาลเจ้ายกเค่เก้ง (ซอยพะเนียง)

07.30 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

20.00 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

ศาลเจ้าสะปำ

19.00 น. ประกอบพิธีอิ้วเก้ง (พิธีแห่พระภายในหมู่บ้านสะปำ)


-----------------------------
 
พิธีการถือศีลกินผักที่ภูเก็ต


จังหวัดภูเก็ตไม่มีประเพณีกินเจเหมือนที่อื่นแต่จะเรียกว่าประเพณีถือศีลกินผักตามภาษาถิ่นฮกเกี้ยนที่ว่าเจี๊ยะฉ่าย(食菜)ตามตำนานกล่าวว่าเมื่อประมาณ180ปีก่อนมีคณะงิ้วจากเมืองจีนมาเปิดการแสดงที่กะทู้นานเป็นแรมปี แล้วบังเอิญช่วงนั้นเกิดโรคระบาดขึ้นคณะงิ้วจึงจัดให้มีพิธีกินผักและสร้างศาลเจ้าขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ หลังจากนั้นโรคภัยไข้เจ็บก็หายสิ้น ชาวกะทู้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาจึงปฏิบัติตาม และหลังจากประกอบพิธีอยู่ประมาณ 2-3 ปี ผู้ศรัทธามากขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับอยากได้พิธีกินผักที่สมบูรณ์ตามแบบประเพณีมณฑลกังไส ประเทศจีน จึงได้ส่งตัวแทนไปนำควันธูป (เหี่ยวเอี้ยน) ในการเดินทางกลับจะต้องคอยจุดธูปต่อกันมิให้ดับมอด ศาลเจ้ากะทู้จึงได้ชื่อว่าเป็นต้นตำรับของพิธีกินผักในปัจจุบัน

ความหมายของ เจ

คำว่า เจ ในภาษาจีนทางพุทธศาสนาฝ่ายมหายานมีความหมายเดียวกับคำว่า อุโบสถ ดังนั้นการกินเจก็คือการรับประทานอาหารก่อนเที่ยงวัน เหมือนกับที่ชาวพุทธในประเทศไทยที่ถืออุโบสถศีล หรือรักษาศีล 8 โดยไม่รับประทานอาหารหลังจากเที่ยงวันไปแล้ว

แต่เนื่องจากการถืออุโบสถศีลของชาวพุทธฝ่ายมหายานที่ไม่กินเนื้อสัตว์ จึงนิยมนำการไม่กินเนื้อสัตว์ไปรวมกันเข้ากับคำว่ากินเจ กลายเป็นการถือศีลกินเจ ในปัจจุบันผู้ที่รับประทานอาหารทั้ง 3 มื้อแต่ไม่กินเนื้อสัตว์ก็ยังคงเรียกว่ากินเจ ฉะนั้นความหมายก็คือคนกินเจมิใช่เพียงแต่ไม่กินเนื้อสัตว์ แต่ยังต้องดำรงตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม มีความบริสุทธิ์ สะอาด ทั้งกาย วาจา ใจ

แจมิได้แปลว่า อุโบสถ

ในภาษาจีนมี(กลุ่ม)คำหรือวลีที่ใช้อักษรแจ(เจ, 齋 / 斋 )เป็นตัวประกอบร่วมด้วยหลายคำ แต่คำว่าโป๊ยกวนแจไก่ (八關齋戒 ) ซึ่งเป็นศัพท์ของทางพุทธศาสนา ดูจะเป็นคำที่นิยมหยิบยกมาใช้อธิบายความหมายของอักษรแจเสมอมา

โป๊ยกวนแจไก่ (八關齋戒 ) แปลว่า ศีลบริสุทธิ์แปดประการ ซึ่งก็คือ “ศีลแปด”ที่เรารูจักกันดี

คนไทยในรุ่นปู่ย่าตายายที่เคร่งในศีลวัตรจะไปอาราธนาศีลแปดจากพระสงฆ์ในวันธรรมสวนะภายในพระอุโบสถ ศีลแปดจึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า “ อุโบสถศีล ”

ผู้เขียนเกี่ยวกับเรื่องกินเจที่ไม่เข้าใจภาษาและที่มาของคำจึงแปลอักษรแจผิดว่า “อุโบสถ” ซึ่งคำแปลนี้ก็ฮิตติดตลาดและถูกคัดลอกไปใช้บ่อยอย่างน่ารำคาญใจ เพราะหากจะเอาตามความในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานแล้ว

อุโบสถ เป็นคำนาม หมายถึง สถานที่ที่พระสงฆ์ประชุมกันทำสังฆกรรมต่างๆ เรียกย่อว่า โบสถ์

การแปลและเข้าใจคลาดเคลื่อนดังกล่าวยังถูกใช้เป็นบรรทัดฐานในการอธิบายวัตรปฏิบัติของการกินเจผิดตามไปด้วยว่า “การกินเจต้องถือศีลข้อวิกาลโภชน์” หรือการงดกินของขบเคี้ยวหลังเที่ยงวันไปแล้ว ซึ่งเป็นศีลข้อหนึ่งในศีลแปด ทั้งๆที่โรงครัวของศาลเจ้าหรือโรงเจที่เปิดเลี้ยงผู้คนในช่วงเทศกาลกินเจล้วนแต่มีอาหารมื้อเย็นให้กับผู้เข้าไปกิน ยิ่งวันที่มีการประกอบพิธีกรรมในตอนค่ำยังมีอาหารมื้อค่ำบริการเสริมให้เป็นพิเศษด้วย ที่เป็นเช่นนั้นเพราะในช่วงเทศกาลกินเจนั้นเขาถือเพียงศีลห้าที่เป็นนิจศีล ไม่ได้ครองศีลแปดอย่างที่หลายคนเข้าใจ (เว้นแต่ผู้ตั้งจิตอธิษฐานว่าจะครองศีลแปดเป็นการส่วนตัวเท่านั้น)

ในทางอักษรศาสตร์จีน อักษรตัว “แจ” มีพัฒนาการมาจาก ตัวอักษร ฉี “ 齊 ” ซึ่งแปลว่าบริบูรณ์ , เรียบร้อย อักษรแจเกิดจากการเพิ่มเส้นตั้งและสองจุด ( ) เข้าไปกลางอักษรฉี ทำให้เกิดตัว ซื ( ) ซึ่งแปลว่าการสักการะ อยู่ในแก่นกลางของตัวฉี

แจ( ) จึงมีความหมายว่า การรักษาความบริสุทธิ์(ทั้งกายและใจ)เพื่อการสักการะ หรือ การปฏิบัติบูชาถวายเทพยดา

ซึ่งการอธิบายในแนวทางนี้จะสอดคล้องกับ คำว่า “ 齋醮 ” ในลัทธิเต๋า ซึ่งย่อมาจากคำว่า 供齋醮神 ที่แปลว่าการบำเพ็ญกายใจให้บริสุทธิ์เพื่อเป็นสักการะบูชาเทพยดา

ความหมายของแจในศาสนาอิสลาม

ศัพท์คำว่า ศีลแจ / 齋戒 ในภาษาจีน นอกจากใช้ในลัทธิเต๋าและศาสนาพุทธแล้ว ยังหมายถึง “ศีลอด” ที่ถือปฏิบัติในเดือนถือศีลอดของชาวจีนอิสลาม สาระของศีลก็คือการห้ามรับประทานอาหารใดๆในระหว่างเวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นจวบจนลับขอบฟ้า ตลอดเดือนถือศีลอด

แจในวัฒนธรรมดั่งเดิมของจีน

ศัพท์ แจ พบในเอกสารจีนเก่าที่มีอายุกว่าสองพันปีหลายฉบับ เช่น 禮記 , 周易 , 易經 , 孟子 , 逸周書 (เอกสารที่อ้างนี้ปัจจุบันถือว่าเป็นคัมภีร์ในลัทธิหยู) เอกสารเหล่านั้นยังใช้อักษรตัวฉี( )แต่เวลาอ่านออกเสียงกลับต้องอ่านออกเสียงว่า ไจ เช่น คำว่า ไจเจี๋ย / 齊潔 หรือ ไจเจี้ย / 齊戒 ซึ่งก็คือการออกเสียงแจในสำเนียงแต้จิ๋วนั่นเอง อักษรฉีในเอกสารนั้นนักอักษรศาสตร์ตีความว่าแท้จริงแล้วก็คืออักษรตัวแจหรือใช้แทนตัวแจ แจที่ว่านี้หาได้หมายถึงการงดกินของสดคาว หรือ การงดรับประทานอาหารหลังเที่ยง หากหมายถึงการชำระล้างร่างกาย สงบจิตใจ และสวมใส่เสื้อผ้าใหม่สะอาด เป็นการเตรียมกายและใจให้บริสุทธิ์เพื่อประกอบพิธีกรรมสักการะบูชา ขอพร หรือแสดงความขอบคุณต่อเทพยดาแห่งสรวงสวรรค์

แจเพื่อการจำแนกความเคร่งครัดของภิกษุฝ่ายมหายาน

ศีลของภิกษุฝ่ายมหายาน ในส่วนเกี่ยวกับการฉันของภิกษุแตกต่างจากฝ่ายเถรวาททั้งมีการจำแนกเป็นสองลักษณะตามสำนักศึกษาได้แก่

1.เหล่าที่ถือมั่นในศีลวิกาลโภชน์และฉันอาหารเจ จะไม่ฉันอาหารหลังอาทิตย์เที่ยงวัน เรียก ถี่แจ /持齋

2.เหล่าที่ถือมั่นแต่การฉันอาหารเจ เรียกถี่สู่ /持素 เจี๊ยะแจ

ความหมาย

เจี๊ยะแจ (食齋 ) เป็นการออกเสียงตามสำเนียงถิ่นแต้จิ๋ว ศัพท์คำนี้ใช้และเป็นที่เข้าใจแต่ทางตอนใต้ของจีนโดยเฉพาะแถบลุ่มอารยะธรรมหลิ่งหนาน (領南)ในมณฑลกวางตุ้ง อันเป็นแหล่งอาศัยดั่งเดิมของคนแคะ แต้จิ๋ว กวางตุ้งและไหหนำ ซึ่งเป็นชาวจีนกลุ่มใหญ่ในประเทศไทย เจียะแจตรงกับคำว่า ชือซู ( )ในภาษาจีนกลาง (สำเนียงปักกิ่ง)

เจี๊ยะ ( ) ในภาษาถิ่นใต้ หากใช้ในความหมายของคำกิริยา แปลว่า กิน

แจ ( ) แปลว่า บริสุทธิ์ ( 清淨 ) ( อ้างตามปทานุกรมพุทธศาสนาฉบับ วัดฝอกวงซัน ,ไต้หวัน )

เจี๊ยะแจ หรือ ตรงกับคำไทยที่นิยมใช้กันว่า กินเจ จึงแปลว่า การกินอาหารที่บริสุทธิ์ตามความเชื่อ(ในลัทธิกินเจ) ซึ่งหมายความถึงอาหารที่ไม่คาวหรือไม่เจือปนซากผลิตภัณฑ์ของสัตว์ รวมทั้งไม่ปรุงใส่พืชผักต้องห้าม

คำว่าเจียะแจนี้ชาวจีนฮกเกี้ยนทางปักษ์ใต้แถบจังหวัดภูเก็ตเรียกต่างออกไปว่า เจี๊ยะไฉ่ (食菜) ที่แปลตามตัวอักษรได้ว่า “กินผัก” แต่มีนิยามหรือความหมายตรงกับคำว่าเจี๊ยะแจที่กล่าวข้างต้น

กินเจเพื่ออะไร?

ผู้ที่กินเจอาจจะมีจุดเริ่มต้นที่แตกต่างกันไป แต่จุดประสงค์หลักสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทดังนี้

1. กินเพื่อสุขภาพ อาหารเจเป็นอาหารประเภทชีวจิต เมื่อกินติดต่อกันไปช่วงเวลาหนึ่งจะทำให้ร่างกายเกิดการปรับตัวให้อยู่ในสภาวะสมดุล สามารถขับพิษของเสียต่างๆ ออกจากร่างกายได้ ปรับระบบไหลเวียนโลหิต ระบบทางเดินอาหารให้มีเสถียรภาพ

2. กินด้วยจิตเมตตา เนื่องจากอาหารที่เรากินอยู่ในชีวิตประจำวัน ประกอบด้วยเลือดเนื้อของสรรพสัตว์ ผู้มีจิตเมตตา มีคุณธรรมและมีจิตสำนึกอันดีงามย่อมไม่อาจกินเลือดเนื้อของสัตว์เหล่านั้นซึ่งมีเลือดเนื้อ จิตใจและที่สำคัญมีความรักตัวกลัวตายเช่นเดียวกับคนเรา

3. กินเพื่อเว้นกรรม ผู้ที่เข้าใจอย่างลึกซึ้งย่อมตระหนักว่าการกินซึ่งอาศัยการฆ่าเพื่อเอาเลือดเนื้อผู้อื่นมาเป็นองเราเป็นการสร้างกรรม แม้ว่าจะไม่ได้เป็นผู้ลงมือฆ่าเองก็ตาม การซื้อจากผู้อื่นก็เหมือนกับการจ้างฆ่าเพราะถ้าไม่มีคนกินก็ไม่มีคนฆ่ามาขาย กรรมที่สร้างนี้จะติดตามสนองเราในไม่ช้าทำให้สุขภาพร่างกายอายุขัยของเราสั้นลงเป็นบ่อเกิดของโรคภัยไข้เจ็บ เมื่อผู้หยั่งรู้เรื่องกฎแห่งกรรมนี้จึงหยุดกินหยุดฆ่าหันมารับประทานอาหารเจ ซึ่งทำให้ร่างกายเติบโตได้เหมือนกัน โดยไม่เห็นแก่ความอร่อยช่วงเวลาสั้นๆ เพียงแค่อาหารผ่านลิ้นเท่านั้น

พืชผักผลไม้ถือว่าเป็นยาดีๆ นี่เอง

ประโยชน์

การกินอาหารเจ นอกจากจะเป็นการถือศีลและรักษาประเพณีแล้ว ยังให้ประโยชน์ต่อร่างกายดังนี้

1. ร่างกายสามารถขับถ่ายของเสียออกได้หมดทำให้ไม่มีสารพิษตกค้างอยู่ภายใน สารอาหารที่มีคุณค่าในพืชผักและผลไม้จะช่วยให้ระบบขับถ่ายและการย่อยเป็นปกติ

2. เมื่อรับประทานเป็นประจำโลหิตจะถูกฟอกให้สะอาดขึ้นเรื่อยๆ เซลล์ต่างๆ ของร่างกายเสื่อมสลายช้าลงทำให้อายุยืนยาวมีผิวพรรณสดชื่นผ่องใส นัยน์ตาแจ่มใสไม่พร่ามัวร่างกายแข็งแรงรู้สึกเบาสบายไม่อึดอัด มีสุขภาพพลานามัยดี

3. อวัยวะหลักสำคัญภายใน ได้แก่ หัวใจ ไต ม้าม ตับ ปอด และอวัยวะประกอบคือ ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะ กระเพาอาหาร ถุงน้ำดี แข็งแรงทำงานได้เป็นปกติสมบูรณ์

4. ร่างกายสามารถต้านทานต่อสารพิษต่างๆ ได้แก่

1. สารเคมี ยากำจัดศัตรูพืช ยาฆ่าแมลง สารดีดีที

2. มลภาวะและก๊าซพิษที่เกิดจากการเผาไหม้ในอุตสาหกรรม ไอเสียจากเครื่องจักร เครื่องยนต์ซึ่งแพร่กระจายปะปนไปในอากาศที่เราหายใจอยู่เป็นประจำและยังพบว่ามีปะปนอยู่ในแหล่งน้ำดื่มด้วย

3. กัมมันตภาพรังสีที่เกิดจากการทดลองระเบิดนิวเคลียร์และในการทำสงคราม สารอาหารในพืชผักช่วยให้เซลล์ต่างๆ ในร่างกายสามารถทนต่อการทำลายจากรังสีต่างๆ

5. ร่างกายสามารถต้านทานต่อสารพิษต่างๆ ได้สูงกว่าคนปกติธรรมดาสารพิษที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ ในบรรดาผู้ที่กินอาหารเจ อาหารพืชผักและผลไม้เป็นประจำความเจ็บไข้ได้ป่วยมักไม่มีปรากฏโดยเฉพาะโรคที่รุนแรงหรือเรื้อรัง เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เส้นเลือดตีบ ไขมันอุดตันในเส้นเลือด โรคไต ไขข้ออักเสบ โรคเก๊าส์ โรคเบาหวานฯลฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่เกี่ยวกับระบบขับถ่าย ย่อยอาหารและทางเดินอาหาร เช่น โรคริดสีดวงทวาร มะเร็งในกระเพาะและลำไส้ โรคกระเพาะ อาหารไม่ย่อย โรคเหล่านี้จะไม่พบเลยในกลุ่มคนผู้ที่รับประทานอาหารเจ อาหารพืชผักและผลไม้เป็นประจำ

หลักธรรมในการกินเจ

ในทัศนะของคนกินเจ การกินที่ทำให้ชีวิตผู้อื่นต้องเดือดร้อนล้มตายนั้น “มันมากเกินไป” ทั้งๆ ที่มนุษย์กินแต่อาหารพืชผักก็สามรถมีชีวิตอยู่ได้

การกินเจตั้งมั่นอยู่บนหลักธรรมสำคัญ 2 ประการคือ ดำรงชีวิตอยู่ด้วยอาหารที่ไม่เบียดเบียนตนเองและดำรงชีวิตอยู่ด้วยอาหารที่ไม่เบียดเบียนผู้อื่น กล่าวคือ

1. ไม่เอาชีวิตของสัตว์ทั้งหลายมาต่อเติมบำรุงเลี้ยงชีวิตของตน

2. ไม่เอาเลือดของสัตว์ทั้งหลายมาเป็นเลือดของตน

3. ไม่เอาเนื้อของสัตว์ทั้งหลายมาเป็นเนื้อของตน

การรับประทานสิ่งใดก็ตามที่ทำลายสุขภาพร่างกายของตนให้ทรุดโทรม คือ การเบียดเบียนตนเอง ปัจจุบันวิทยาการเจริญก้าวหน้าได้พิสูจน์ยืนยันว่าเลือดและเนื้อของสัตว์ที่ถูกฆ่าตายเต็มไปด้วยพิษภัยมากมาย

ดังนั้นการกินเจจึงไม่ใช่เพื่อให้เกิดผลดีต่อจิตใจเท่านั้นแต่ยังครอบคลุมไปถึงการมีสุขภาพพลานามัยที่ดีอีกด้วย ร่างกายและจิตใจเป็นของคู่กันมีความสัมพันธ์ส่งผลถึงกันคนเราย่อมไม่อาจจะรู้สึกเบิกบานสดชื่นร่าเริงได้ในขณะที่ร่างกายเจ็บป่วยทรุดโทรมย่ำแย่

การปฏิบัติตนในช่วงกินเจ

ในช่วงเทศกาลกินเจ 9 วัน 9 คืน ผู้ที่ต้องการกินเจอย่างครบถ้วยสมบูรณ์ตามประเพณีการกินเจ จะต้องปฏิบัติดังนี้

1. งดเว้นเนื้อสัตว์หรือทำอันตรายต่อสัตว์

2. งดนม เนย และน้ำมันที่มาจากสัตว์

3. งดอาหารรสจัด ซึ่งหมายถึงอาหารเผ็ด หวานมาก เปรี้ยวมาก เค็มมาก

4. งดผักหรือเครื่องเทศที่มีกลิ่นแรง เช่น กระเทียม หัวหอม ต้นหอม กุยช่าย รวมทั้งใบยาสูบ สิ่งเสพติดและของมึนเมาต่างๆ

5. รักษาศีลห้า

6. รักษาจิตใจให้บริสุทธิ์ รักษาอารมณ์

7. ทำบุญทำทาน

8. นุ่งขาวห่มขาว

สำหรับผู้ที่เคร่งครัดเพื่อการกินเจให้เป็นไปอย่างบริสุทธ์โดยแท้ จะเพิ่มการปฏิบัติโดยการกินอาหารเฉพาะที่คนกินเจด้วยกันเป็นผู้ปรุงเท่านั้น รวมถึงจะล้างหม้อไหจนสะอาดเอี่ยมแยกภาชนะสำหรับการปรุงอาหารเจไว้โดยเฉพาะ นอกจากนี้ยังจุดตะเกียงไว้ 9 ดวงตลอดช่วงเทศกาลกินเจ 9 วัน โดยไม่ปล่อยให้ดับเพื่อเป็นพุทธบูชาและรำลึกถึงบุญคุณของพ่อแม่ญาติพี่น้องตลอดจนผู้ที่มีบุญคุณต่อผืนแผ่นดินเกิด

ธงที่ใช้ประดับหน้าร้านอาหารเจต้องมีตัวอักษรจีนสีแดงด้วย 齋

เจ็ดวันอันควรงดเว้นจากการกินเนื้อสัตว์

แม้ว่าจะมีผู้คนจำนวนมากที่ยังคงเข่นฆ่ากินเลือดกินเนื้อสัตว์ทุกวัน แต่อย่างน้อยที่สุดควรหยุดคิดสักนิดให้เห็นถึงความสำคัญของวันทั้ง 7 ที่ควรงดเว้นเนื้อสัตว์เพื่อเป็นมงคลชีวิตสู่ความสำเร็จของตนเองและครอบครัว ถือเป็นมหากุศลและเมตตาธรรมสูงสุด

กินเจในวันเกิดของตนเอง

วันที่เราได้เกิดมามีชีวิตไม่ควรทำลายผู้อื่น สัตว์ทั้งหลายเมื่อถือกำเนิดมาบนโลกต่างก็อยากมีชีวิตอยู่ยืนยาว เป็นการไม่สมควรอย่างยิ่งที่ไปฆ่าผู้อื่นแล้วกินเลือดกินเนื้อเขาเพื่อฉลองวันเกิดของตนเองซึ่งเป็นการตัดทอนอายุขัยของผู้อื่นให้สั้นลงแล้วจะหวังให้ตนเองมีอายุยืนยาวได้อย่างไร

กินเจในวันเกิดของลูกหลาน

ในวันเกิดของลูกหลานวันที่ชีวิตใหม่ถือกำเนิดผู้เป็นพ่อแม่ต่างชื่นชมยินดีเป็นที่สุด ลูกของเราเรารักดังแก้วตาดวงใจยามลูกนอนก็คอยปัดเป่าพัดวีแม้แต่ยุง เหลือบ ริ้น ไร มิยอมให้ขบกัด สัตว์ทุกตัวก็รักลูกของเขาเช่นเดียวกับมนุษย์ ดวงใจของผู้เป็นพ่อแม่ ไม่มีแบ่งแยกว่าเป็นมนุษย์หรือสัตว์ ลูกของใครใครก็รักเพราะฉะนั้นวันที่เราได้ลูกต่างสุดแสนดีใจแล้วทำไมจึงต้องทำให้ผู้อื่นเสียใจที่ลูกต้องตายจากไป

กินเจในวันแต่งงานหรือวันมงคลสมรส

วันแต่งงานหรือวันมงคลสมรสเป็นวันที่มีความหมายอย่างยิ่งในชีวิต ในชั่วชีวิตของแต่ละคนจะมีงานมงคลนี้เพียงครั้งเดียว ทุกคนเมื่อแต่งงานกันแล้วต่างก็อยากมีชีวิตที่ยั่งยืนได้ครองรักกันไปจนแก่เฒ่า คู่รักของใครต่างก็รักและหวงแหนไม่ยอมให้ผู้ใดมาทำอันตราย สัตว์ก็มีคู่ชีวิตรู้จักรักและหวงแหนเช่นกัน หากวันที่เราได้คู่ชีวิตมาเคียงข้างกลับเป็นวันที่เราพรากชีวิตคู่ของผู้อื่นมานั้นมันช่างไม่ยุติธรรมเลย ดังนั้นวันที่เราแต่งงานได้คู่ครองจึงไม่ควรพราดชีวิตสัตว์อื่น

กินเจในวันงานเลี้ยงเพื่อนฝูงญาติมิตร

ในโอกาสจัดงานเลี้ยงสังสรรค์รับรองเพื่อนฝูงญาติมิตรทุกคนที่มาร่วมชุมนุมต่างปลื้มปีติที่ได้กลับมาพบกันอีกครั้ง โอกาสที่น่ายินดีเช่นนี้เราไม่ควรใช้ชีวิตเลือดเนื้อของผู้อื่นมาเลี้ยงฉลองเพราะขณะที่เราดีใจที่ฉลองด้วยเลือดเนื้อผู้อื่น แต่สัตว์ทั้งหลายต่างโศกเศร้าเสียใจที่ต้องตายจากกันไป หากจัดเลี้ยงเพื่อนฝูงด้วยอาหารพืชผักและผลไม้ถือได้ว่าเป็นบุญกุศลยิ่งใหญ่ที่บังเกิดขึ้นแก่เพื่อนฝูงผู้มาร่วมงานซึ่งถือว่าเป็นความปีติยินดีให้แก่ทุกฝ่ายอย่างแท้จริง

กินเจในวันเซ่นไหว้บรรพบุรุษ

ผู้ที่มีความกตัญญูที่แท้จริงไม่พึงกระทำอย่างยิ่งในงานบำเพ็ญกุศลอุทิศให้แก่ผู้ที่เราเคารพรัก ทุกคนรู้สึกโศกเศร้าเสียใจที่ต้องสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักไป ฉะนั้นในงานศพจึงไม่ควรทำให้สัตว์ทั้งหลายต้องตายตามไปด้วย ดวงวิญญาณของคนที่เขาเคารพรักเหล่านั้นย่อมจะจากไปโดยไม่มีความสงบสุขแน่หากรู้ว่างานศพของตนเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้อื่นต้องล้มตายลงอย่างมากมาย

กินเจในงานทำบุญสร้างกุศลทุกโอกาส

คนเรามีโอกาสประสบสิ่งดีๆ ในชีวิตมีโอกาสที่ได้สร้างบุญกุศลอยู่เสมอ เช่น วันขึ้นปีใหม่หรือวันทำบุญอื่นๆ การจัดงานทำบุญในวันเหล่านี้ทุกคนต่างก็มุ่งหวังให้ตนมีความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้ายิ่ง ให้มีชีวิตที่ดีได้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขตลอดไป ฉะนั้นในงานสร้างบุญกุศลทุกงานจึงไม่สมควรเลี้ยงพระ เณร แขกเหรื่อและเพื่อนฝูงด้วยชีวิตและความตายของสัตว์ เพราะเหตุนี้ในโอกาลงานบุญงานกุศลที่เราทุกคนปรารถนาแต่ความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าอยู่เย็นเป็นสุขจึงไม่ควรสร้างบาปซึ่งเป็นเหตุให้ชีวิตผู้อื่นต้องตาย

กินเจในโอกาสขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์

ในโอกาสที่ไปกราบไหว้สักการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไม่ว่าพระองค์ใดก็ตาม ทุกคนควรชำระล้างปาก ลิ้น ให้สะอาดด้วยการกินเจ กระทำตนให้สะอาดทั้งกายวาจาและจิตใจ เมื่อนั้นก็จะบังเกิดความสุขความเจริญเป็นสิริมงคลแก่ตัวเราเอง การถวายเครื่องสักการะอื่นใดแม้จะมีราคาแพงสักเท่าไรมันก็เป็นเพียงวัตถุสิ่งของเท่านั้น ขอให้ทุกคนจงนำเอา “จิตใจอันดีงาม” ซึ่งมีอยู่แล้วในตัวของทุกๆ คนออกมาถวายเป็นเครื่องสักการะต่อสิ่งศักดิ์สิทธ์เบื้องบน จิตใจที่มีแต่ความบริสุทธิ์ดีงามของมนุษย์นี่แหละเป็นเครื่องสักการะอันล้ำค่าที่สุด

เบ็ดเตล็ด

การปฏิบัติตัวช่วงเทศกาลกินเจ -งดเว้นเนื้อสัตว์ หรือทำอันตรายต่อสัตว์ -งด นม เนย หรือน้ำมันจากสัตว์ -งดอาหารรสจัด หมายถึง อาหารรสเผ็ดมาก เค็มมาก หวานมาก เปรี้ยวมาก -งดผักกลิ่นฉุน 5 ชนิด คือ กระเทียม หัวหอม หลักเกียว กุยช่าย ใบยาสูบ รวมทั้งเครื่องเทศที่มีกลิ่นฉุน รักษาศีล 5 -รักษาจิตใจให้บริสุทธิ์ รักษาอารมณ์ให้คงที่ -ทำบุญ ทำทาน บางคนที่เคร่งอาจนุ่งขาว ห่มขาว

"อาหารเจ" เป็นอาหารที่ปรุงขึ้นจากพืชผักธรรมชาติล้วนๆ ไม่มีเนื้อสัตว์ปน และที่สำคัญต้องไม่ปรุงด้วยผักฉุนทั้ง 5

ตามความเชื่อทางการแพทย์จีน ของผักเหล่านี้มีรสหนัก กลิ่นรุนแรง เป็นเหตุให้อวัยวะหลักสำคัญภายในทั้ง 5 ทำงานไม่ปกติ

สำหรับคนที่กินเจอย่างเคร่งครัด นอกจากจะ "ถือศีล-กินเจ" แล้ว ยังต้องเลือกผู้ปรุงอาหารเจที่กินเจด้วย เพื่อให้ "อาหารเจ" นั้นบริสุทธิ์จริงๆ

บางคนจะคัดแยกภาชนะบรรจุหรือปรุงอาหาร จากที่ใช้ใส่อาหารที่มีเนื้อสัตว์อย่างเด็ดขาด

และในบางแห่งอาจพบว่ามีการจุดตะเกียงเก้าดวงไว้เป็นเวลา 9 วันตลอดระยะเวลากินเจ เพื่อรำลึกถึงบุญคุณพ่อแม่ญาติพี่น้อง และเพื่อเป็นพุทธบูชา

การกินเจทำได้ 2 แบบ คือ
1.กินเป็นกิจวัตร คือ ละเว้นการกินเนื้อสัตว์ทั้ง 3 มื้อทุกวัน

2.กินเฉพาะช่วงกินเจ คือ กินเจช่วงวันขึ้น 1 ถึง 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีน

ส่วนจะปฏิบัติที่เคร่งครัดกว่า หรือเกินความคิดคำนึงพื้นฐานของคนทั่วไป เช่น ลุยไฟ ใช้เหล็กเสียบแทงตนเอง หรือม้าทรงต่างๆ ในเทศกาลกินเจที่ภูเก็ต หรือตรัง นั่นคือ ความเชื่ออันแรงกล้าทำให้เกิดสิ่งที่ตนคิดว่าเป็นไปได้เสมอ

สี

ทำไมต้องใช้ธงสีเหลือง ตัวหนังสือสีแดง แต่งกายสีขาว?

สีแดง เป็นสีที่ชาวจีนเชื่อว่าเป็นสีศิริมงคล ดังจะเห็นได้ว่าในงานมงคลต่างๆ ของคนจีนไม่ว่าจะเป็นงานแต่ง วันตรุษจีน

สีเหลือง เป็นสีสำหรับใช้ในราชวงศ์ซึ่งอนุญาตให้ใช้ได้เพียงคนสองกลุ่มเท่านั้น กลุ่มแรกคือกษัตริย์ซึ่งเห็นได้จากหนังจีน เครื่องแต่งกายและภาชนะต่างๆ เป็นสีเหลืองหรือทองซึ่งคนสามัญห้ามใช้เด็ดขาด กลุ่มที่สองคืออาจารย์ปราบผีถ้าท่านสังเกตในหนังผีจีนจะเห็นว่าเขาแต่งกายและมียันต์สีเหลือง

สีขาว ตามธรรมเนียมจีนสีขาวคือสีสำหรับการไว้ทุกข์ สีดำที่เราเห็นกันอยู่ในขณะนี้เป็นการรับวัฒนธรรมตะวันตก ถ้าท่านสังเกตในพิธีงานศพของจีนจะเห็นลูกหลานแต่งชุดสีขาวอยู่

สีซึ่งกล่าวมาทั้งหมดนี้สามารถนำไปเชื่อมโยงในตำนานข้างต้นที่กล่าวมาได้ทั้งหมด

เพื่อนเจ

เพื่อนเจเราจะเรียกว่า แจอิ๊ว หมายถึงเพื่อนที่กินเจเวลาร้านค้าเรียกลูกค้าในวันนั้นจะเหมารวมคนที่ใส่ชุดขาวว่า แจอิ๊ว ทั้งหมด

ถ้วยชาม

หากเป็นสมัยก่อนถ้วยชามที่ใช้ในเทศกาลกินเจก็จะมีชุดใหม่ซึ่งไม่ปนกับชุดที่ใช้อยู่ทุกวัน บางบ้านจะทำความสะอาดบ้านเพื่อต้อนรับเทศกาลกินเจ
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นทั่วไป ใช้คำสุภาพ