วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประเพณีลอยกระทง ประจำปี 2553 จังหวัดภูเก็ต

นายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานการประชุมคณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต โดยมี นายสรธรรม จินดา รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต หัวหน้าส่วนราชการและเจ้าหน้าที่ เข้าร่วม

การประชุมถึงการเตรียมความพร้อมการจัดงานประเพณีลอยกระทง ประจำปี 2553 ของจังหวัดภูเก็ต ซึ่งจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 20-21 พฤศจิกายน 2553 ณ สะพานท่าเทียบเรืออ่าวฉลอง จังหวัดภูเก็ต

โดยรูปแบบของกิจกรรมในงานวันแรก ประกอบด้วย การแสดงของนักเรียนในโรงเรียนสังกัด อบจ.ภูเก็ต การแสดงของวงซุปเปอร์แดนซ์ การแสดงตลก อ่าง เถิดเทิง และศิลปินนักร้อง จิ้งหรีดขาว วงเทวัญ

ส่วนในวันที่สอง นายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์ นายก อบจ.ภูเก็ต จะเป็นประธานในพิธีเปิดงาน มีกิจกรรมตักบาตรอาหารแห้ง การแข่งขันเรือหางยาว การประกวดหนูน้อยและนางนพมาศ พร้อมมอบรางวัลสำหรับแก่ผู้ชนะการแข่งขันเรือหางยาว มีการแสดงของวงซุปเปอร์แดนซ์ และศิลปินนักร้อง เจี๊ยบ เบญจพร เป็นต้น

ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต จึงขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนและนักท่องเที่ยวเข้าเที่ยวชมงาน ประเพณีลอยกระทงประจำปี 2553 ในระหว่างวันที่ 20-21 พฤศจิกายน 2553 ณ ท่าเทียบเรืออ่าวฉลอง ต.ฉลอง อ.เมือง จังหวัดภูเก็ต


ประเพณีวันลอยกระทง

วันลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา "มักจะ" ตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติ ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนันทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป

ในวันลอยกระทง ผู้คนจะพากันทำ "กระทง" จากวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ตบแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาพระแม่คงคาด้วย

ประวัติความเป็นมาในประเทศไทย

พลุเฉลิมฉลองในเทศกาลวันลอยกระทงริมแม่น้ำเจ้าพระยาเดิมเชื่อกันว่าประเพณีลอยกระทงเริ่มมีมาแต่สมัยสุโขทัย ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยมีนางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่าพิธีจองเปรียง ที่ลอยเทียนประทีป และนางนพมาศได้นำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป[ต้องการอ้างอิง] แต่ปัจจุบันมีหลักฐานว่าไม่น่าจะเก่ากว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยอ้างอิงหลักฐานจากภาพจิตรกรรมการสร้างกระทงแบบต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่ 3

ปัจจุบันวันลอยกระทงเป็นเทศกาลที่สำคัญของไทย ที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาเที่ยวปีละมากๆ ทั้งนี้ในช่วงเวลาดังกล่าวมักจะเป็นช่วงต้นฤดูหนาว และมีอากาศดี

ในวันลอยกระทง ยังนิยมจัดประกวดนางงาม เรียกว่า "นางนพมาศ"

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ เว็บไซต์วิกิพีเดีย

วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2553

พุทธศาสนิกชนชาวภูเก็ตทำบุญตามวัดต่างๆ สืบสานประเพณีวันสารทเดือนสิบ

วันที่ 8 ต.ค.53 ซึ่งเป็นวันสารทใหญ่ งานประเพณีวันสารทเดือนสิบ ประจำปี 2553 บรรยากาศตามวัด และสำนักสงฆ์ต่างๆ ในจังหวัดภูเก็ต คึกคักไปด้วยชาวบ้านที่เดินทางไปทำบุญ ในงานประเพณีวันสารทเดือนสิบ ประจำปี 2553 โดยชาวบ้านได้นำอาหารคาวหวานไปถวายพระ และร่วมกันตักบาตรข้าวสวย ทั้งนี้หลังจากพระฉันเพล เป็นที่เรียบร้อย ชาวบ้านก็จะร่วมกันชิงเปรต


การ ชิงเปรต เป็นประเพณีของภาคใต้ที่ทำกันในวันสารทเดือนสิบ เป็นประเพณีที่ดำรงอยู่บนความเชื่อของการนับถือผีบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้วหากยังมีบาปอยู่จะกลายเป็นเปรตในนรกปีหนึ่งจะถูกปล่อยให้มาเมืองมนุษย์ 15 วัน โดยมาในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 (ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันที่ 24 ก.ย.53) ซึ่งถือว่าเป็นวัน "รับเปรต" หรือวันสารทเล็ก ลูกหลานต้องเตรียมขนมมาเลี้ยงดูให้อิ่มหมีพีมันและฝากกลับเมืองเปรตในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 (ปีนี้ตรงกับวันที่ 8 ต.ค.53) นั่นคือวันส่งเปรตกลับคืนเมือง เรียกกันว่าวันสารทใหญ่

ผู้เฒ่าผู้แก่หลายคนได้ยืนยันว่าการชิงเปรตไม่เป็นความอัปมงคลแก่ผู้ชิงเปรตแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้ามกลับถือว่าเป็นการได้บุญเพราะเชื่อกันว่าลูกหลานของเปรตใดชิงได้ เปรตตนนั้นย่อมได้รับส่วนบุญนั้น การตั้งเปรตและชิงเปรตจะกระทำกันในวันยกหมฺรับไปวัด หลักๆ ก็จะเป็นขนมพอง ขนมลา ขนมดีซำ ขนมต้ม ขนมเทียน

นอกนี้จะมีผลไม้หรืออาหารแห้งอื่นๆ ที่บรรพบุรุษ ที่เป็นเปรตชอบไปวางรวมกันไว้บน "ร้านเปรต" หลังจากที่พระสงฆ์ได้ทำพิธีกรรมและกำลังฉันเพล ชาวบ้านก็จะออกมาตักบาตรข้าวสวยและเริ่มชิงเปรตกัน

ให้ดูกันเล่นๆ สีเสื้อไม่มีความหมายหรอก



รักกันไว้ตายแล้วจะได้มีคนกรวดน้ำไปให้

วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

ประเพณีถือศีลกินผัก จ.ภูเก็ต ปี53 จัดยิ่งใหญ่ เฉลิมพระเกียรติในหลวง เริ่ม 8-16 ต.ค.นี้

วันที่ 21 กันยายน 2553 ณ ห้องประชุมศาลากลางหลังใหม่ จังหวัดภูเก็ต นายธีระยุทธ เอี่ยมตระกูล รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานการประชุมเตรียมความพร้อมการจัดงานประเพณีถือศีลกินผัก ประจำปี 2553 โดยมี นายทวิชาติ อินทรฤทธิ์ วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต นายประเสริฐ ฟักทองผล ประธานชมรมอ๊ามจังหวัดภูเก็ต กรรมการอ๊ามต่างๆ และหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม

สำหรับวาระการประชุมที่สำคัญได้มีการการติดตามความก้าวหน้าของการเตรียมความพร้อมในการจัดงานประเพณีถือศีลกินผักของจังหวัดภูเก็ต ในส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องในการจัดงาน โดยติดตามในส่วนของการสนับสนุนกิจกรรมของศาลเจ้า ในการสนับสนุนข้าวสารตามศาลเจ้าต่างๆ ติดตามการจัดระบบจราจรและการรักษาความปลอดภัย การจัดหน่วยพยายบาล พร้อมเวชภัณฑ์ และบุคลากรทางการแพทย์ การควบคุมคนทรงเจ้า การประชาสัมพันธ์งานประเพณี การควบคุมการใช้ประทัด การควบคุมราคาสินค้า การรักษาความสะอาดตามท้องถนนและศาลเจ้า การสนับสนุนการจัดงานของ(สสส.) และติดตามการออกเยี่ยมศาลเจ้าต่างๆของผู้ว่าราชการจังหวัด

นายทวิชาติ กล่าวว่า การจัดงานประเพณีถือศีลกินผักของจังหวัดภูเก็ตประจำปี 2553 กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-16 ตุลาคมนี้เพื่อสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม ได้มีการเตรียมความพร้อมของการจัดงานไปในระดับหนึ่ง ลักษณะการจัดงานจะคล้ายของเดิมจากปีที่ผ่านมา แต่ปีนี้จะมีการเพิ่มเติมในส่วนของพิธีการของการจัดงานขึ้น โดยจะมีพิธีเปิดงานประเพณีถือศีลกินผักจะจัดขึ้นก่อนวันงาน 1 วันคือในวันที่ 7 ตุลาคม 2553 เวลา 9.00น. ณ บริเวณมณฑลพิธีเวทีกลางสะพานหิน ซึ่งปีนี้เป็นปีแรกของการจัดพิธีเปิด และในวันที่ 9 ตุลาคม 2553 เวลา 17.00 น. ณ บริเวณมณฑลพิธีเวทีกลางสะพานหิน มีพิธีถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงเจริญพระชนมพรรษา 83 พรรษา ซึ่งทางจังหวัดขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนนุ่งขาวห่มขาวร่วมกิจกรรมดังกล่าวข้างต้น

ด้านนายธีระยุทธ กล่าวว่า การจัดงานประเพณีถือศีลกินผักที่จะถึงนี้ต้องฝากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือ เนื่องจากปีนี้ในส่วนของราชการเข้ามามีบทบาทช่วยเหลือมากขึ้นกว่าที่ผ่านๆมาจึงฝากไปยังฝ่ายจราจรให้ช่วยควบคุมและวางแผนการระบายเส้นทางล่วงหน้าแก้ปัญหาจราจรติดขัด เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย นอกจากนี้ได้เน้นย้ำเรื่องของประทัดที่มีอันตรายโดยเฉพาะ ปิงปอง บ๊ะจ่าง และประทัดอื่นๆที่มีอันตราย ทางเจ้าหน้าที่จำเป็นต้องมีการควบคุมดูแลเพื่อลดอันตรายและสิ่งรบกวนต่างๆที่จะเกิดขึ้น

วันพุธที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2553

กำหนดการกินเจ จังหวัดภูเก็ต ประจำปี 2553 เริ่ม 7-16 ตุลาคม


พฤหัสบดี ที่ 7 ตุลาคม 2553

ศาลเจ้ากะทู้

17.00 น. พิธีขึ้นเสาโกเต้ง

24.00 น. ประกอบพิธีอัญเชิญพระยกอ๋องซ่งเต (พระอิศวร) และพระกิ๋วอ๋องไต่เต (ผู้เป็นใหญ่ทั้งเก้า)

24.30 น. ประกอบพิธีอัญเชิญตะเกียงสู่ยอดเสาโกเต้ง

ศาลเจ้าจุ้ยตุ่ย

17.09 น. พิธีขึ้นเสาโกเต้ง

23.09 น. ประกอบพิธีอัญเชิญพระยกอ๋องซ่งเต (พระอิศวร) และพระกิ๋วอ๋องไต่เต (ผู้เป็นใหญ่ทั้งเก้า)

23.30 น. ประกอบพิธีอัญเชิญตะเกียงสู่ยอดเสาโกเต้ง

ศาลเจ้าบางเหนียว

17.00 น. พิธีขึ้นเสาโกเต้ง

22.00 น. ประกอบพิธีอัญเชิญพระยกอ๋องซ่งเต (พระอิศวร)

23.00 น. ประกอบพิธีอัญเชิญพระกิ๋วอ๋องไต่เต (ผู้เป็นใหญ่ทั้งเก้า) ณ สะพานหิน

23.30 น. ประกอบพิธีป้างกุ้น (พิธีปล่อยทหารเพื่อรักษาศาลเจ้า) และพิธีอัญเชิญตะเกียงสู่ยอดเสาโกเต้ง

ศาลเจ้าซุ่ยบุ่นต๋อง

16.00 น. พิธีขึ้นเสาโกเต้ง

24.00 น. ประกอบพิธีอัญเชิญพระยกอ๋องซ่งเต (พระอิศวร) และพระกิ๋วอ๋องไต่เต (ผู้เป็นใหญ่ทั้งเก้า)

24.30 น. ประกอบพิธีอัญเชิญตะเกียงสู่ยอดเสาโกเต้ง

ศาลเจ้าสามกอง

17.45 น. พิธีขึ้นเสาโกเต้ง

24.00 น. ประกอบพิธีอัญเชิญพระยกอ๋องซ่งเต (พระอิศวร) และพระกิ๋วอ๋องไต่เต (ผู้เป็นใหญ่ทั้งเก้า)

24.30 น. ประกอบพิธีอัญเชิญตะเกียงสู่ยอดเสาโกเต้ง

ศาลเจ้าเชิงทะเล

16.59 น. พิธีขึ้นเสาโกเต้ง

21.09 น. ประกอบพิธีอัญเชิญพระยกอ๋องซ่งเต (พระอิศวร)

23.00 น. ประกอบพิธีอัญเชิญพระกิ๋วอ๋องไต่เต (ผู้เป็นใหญ่ทั้งเก้า) ณ หาดสุรินทร์

23.30 น. ประกอบพิธีอัญเชิญตะเกียงสู่ยอดเสาโกเต้ง

ศาลเจ้ายกเค่เก้ง (ซอยพะเนียง)

17.00 น. พิธีขึ้นเสาโกเต้ง

22.30 น. ประกอบพิธีอัญเชิญพระยกอ๋องซ่งเต (พระอิศวร)

24.00 น. ประกอบพิธีอัญเชิญพระกิ๋วอ๋องไต่เต (ผู้เป็นใหญ่ทั้งเก้า)

24.30 น. ประกอบพิธีอัญเชิญตะเกียงสู่ยอดเสาโกเต้ง

ศาลเจ้าสะปำ

17.45 น. พิธีขึ้นเสาโกเต้ง

24.00 น. ประกอบพิธีอัญเชิญพระยกอ๋องซ่งเต (พระอิศวร) และพระกิ๋วอ๋องไต่เต (ผู้เป็นใหญ่ทั้งเก้า)

24.30 น. ประกอบพิธีอัญเชิญตะเกียงสู่ยอดเสาโกเต้ง

-------------------------------

ศุกร์ ที่ 8 ตุลาคม 2553

ศาลเจ้ากะทู้

05.00/18.00 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

ศาลเจ้าจุ้ยตุ่ย

ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

ศาลเจ้าบ้านท่าเรือ

12.00/19.00 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

ศาลเจ้าซุ่ยบุ่นต๋อง

20.00 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

ศาลเจ้าสามกอง

ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

ศาลเจ้าเชิงทะเล

15.00 น. ประกอบพิธีโข้กุ้น (เลี้ยงอาหารทหารที่รักษาศาลเจ้า)

18.00 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

ศาลเจ้ายกเค่เก้ง (ซอยพะเนียง)

ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

ศาลเจ้าสะปำ

17.45 น. ประกอบพิธีอัญเชิญลำเต้า-ปักเต้า (พิธีอัญเชิญผู้ถือบัญชีคนเกิดคนตาย) ที่สะพานหิน

--------------------------------

เสาร์ ที่ 9 ตุลาคม 2553

ศาลเจ้ากะทู้

05.00 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

ศาลเจ้าจุ้ยตุ่ย

ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

และพิธีป้ายเล่าฉ้ายอิ้ว (พิธีเซ่นไหว้ดวงวิญญาณผู้เคยร่วมงานกินผัก)

ศาลเจ้าบ้านท่าเรือ

ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

ศาลเจ้าซุ่ยบุ่นต๋อง

20.00 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก) และพิธีถวายเก้งเต๋ (พิธีถวายบวงสรวง)

ศาลเจ้าสามกอง

ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

ศาลเจ้าเชิงทะเล

15.00 น. ประกอบพิธีโข้กุ้น (เลี้ยงอาหารทหารที่รักษาศาลเจ้า)

18.00 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

ศาลเจ้ายกเค่เก้ง (ซอยพะเนียง)

20.00 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

ศาลเจ้าสะปำ

ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

-------------------------------------

อาทิตย์ ที่ 10 ตุลาคม 2553

ศาลเจ้ากะทู้

05.00 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

16.00 น. ประกอบพิธีป้างกุ้น (พิธีปล่อยทหารออกรักษาบริเวณงาน)

16.30 น. ประกอบพิธีโข้กุ้น (เลี้ยงอาหารทหารที่รักษาศาลเจ้า)

18.00 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

19.30 น. ประกอบพิธีอัญเชิญลำเต้า-ปักเต้า (พิธีอัญเชิญผู้ถือบัญชีคนเกิดคนตาย)

ศาลเจ้าจุ้ยตุ่ย

15.09 น. ประกอบพิธีโข้กุ้น (เลี้ยงอาหารทหารที่รักษาศาลเจ้า)

20.45 น. ประกอบพิธีอัญเชิญลำเต้า-ปักเต้า (พิธีอัญเชิญผู้ถือบัญชีคนเกิดคนตาย)

ศาลเจ้าบางเหนียว

15.00 น. ประกอบพิธีโข้กุ้น (เลี้ยงอาหารทหารที่รักษาศาลเจ้า)

ศาลเจ้าบ้านท่าเรือ

17.30 น. ประกอบพิธีโข้กุ้น (เลี้ยงอาหารทหารที่รักษาศาลเจ้า)

18.30 น. ประกอบพิธีอัญเชิญลำเต้า-ปักเต้า (พิธีอัญเชิญผู้ถือบัญชีคนเกิดคนตาย)

ศาลเจ้าซุ่ยบุ่นต๋อง

15.00 น. ประกอบพิธีโข้กุ้น (เลี้ยงอาหารทหารที่รักษาศาลเจ้า)

20.00 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

ศาลเจ้าสามกอง

15.09 น. ประกอบพิธีโข้กุ้น (เลี้ยงอาหารทหารที่รักษาศาลเจ้า)

20.00 น. ประกอบพิธีโก้ยชิดแช (พิธีบวงสรวงดาวประจำวันทั้ง 7)

ศาลเจ้าเชิงทะเล

15.00 น. ประกอบพิธีโข้กุ้น (เลี้ยงอาหารทหารที่รักษาศาลเจ้า)

15.30 น. ประกอบพิธีอวยพรให้บ้านบางเทา

19.00 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

ศาลเจ้ายกเค่เก้ง (ซอยพะเนียง)

15.30 น. ประกอบพิธีโข้กุ้น (เลี้ยงอาหารทหารที่รักษาศาลเจ้า)

20.00 น. ประกอบพิธีอัญเชิญลำเต้า-ปักเต้า (พิธีอัญเชิญผู้ถือบัญชีคนเกิดคนตาย) ณ ชายหาดเกาะสิเหร่

ศาลเจ้าสะปำ

07.00 น. ประกอบพิธีอิ้วเก้ง (พิธีแห่พระรอบตัวเมือง)15.45 น. ประกอบพิธีโข้กุ้น (เลี้ยงอาหารทหารที่รักษาศาลเจ้า)

------------------------------------

จันทร์ ที่ 11 ตุลาคม 2553

ศาลเจ้ากะทู้

05.00/18.00 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

ศาลเจ้าจุ้ยตุ่ย

ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก) และพิธีป้ายเล่าฉ้ายอิ้ว (พิธีเซ่นไหว้ดวงวิญญาณผู้เคยร่วมงานกินผัก)

ศาลเจ้าบางเหนียว

ประกอบพิธีป้ายเล่าฉ้ายอิ้ว (พิธีเซ่นไหว้ดวงวิญญาณผู้เคยร่วมงานกินผัก)

ศาลเจ้าบ้านท่าเรือ

12.00/19.30 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

ศาลเจ้าซุ่ยบุ่นต๋อง

20.00 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

ศาลเจ้าสามกอง

05.30 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

07.19 น. ประกอบพิธีอิ้วเก้ง (พิธีแห่พระรอบตัวเมือง)12.00 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

18.00 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

ศาลเจ้าเชิงทะเล

15.00 น. ประกอบพิธีโข้กุ้น (เลี้ยงอาหารทหารที่รักษาศาลเจ้า)

15.30 น. ประกอบพิธีอวยพรให้บ้านหม่าหนิกและบ้านเชิงทะเล

19.00 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

ศาลเจ้ายกเค่เก้ง (ซอยพะเนียง)

07.30 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

20.00 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

ศาลเจ้าสะปำ

07.30 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

--------------------------------

อังคาร ที่ 12 ตุลาคม 2553

ศาลเจ้ากะทู้

05.00/18.00 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

ศาลเจ้าจุ้ยตุ่ย

ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

ศาลเจ้าบางเหนียว

15.00 น. ประกอบพิธีโข้กุ้น (เลี้ยงอาหารทหารที่รักษาศาลเจ้า)

20.00 น. ประกอบพิธีป้ายชิดแช (พิธีบวงสรวงดาวประจำวันทั้ง 7)

ศาลเจ้าบ้านท่าเรือ

07.30 น. ประกอบพิธีอิ้วเก้ง (พิธีแห่พระรอบตัวเมือง)

ศาลเจ้าซุ่ยบุ่นต๋อง

20.00 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

24.00 น. ประกอบพิธีถวายเก้งเต๋ (พิธีถวายบวงสรวง)

ศาลเจ้าสามกอง

05.30 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

15.09 น. ประกอบพิธีโข้กุ้น (เลี้ยงอาหารทหารที่รักษาศาลเจ้า)

18.00 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

ศาลเจ้าเชิงทะเล

15.00 น. ประกอบพิธีโข้กุ้น (เลี้ยงอาหารทหารที่รักษาศาลเจ้า)

20.09 น. ประกอบพิธีโก้ยชิดแช (พิธีบวงสรวงดาวประจำวันทั้ง 7)

23.00 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

ศาลเจ้ายกเค่เก้ง (ซอยพะเนียง)

07.30 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

20.00 น. ประกอบพิธีซงเก้ง (สวดมนต์) และทักส่อ (การอ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผัก)

ศาลเจ้าสะปำ

19.00 น. ประกอบพิธีอิ้วเก้ง (พิธีแห่พระภายในหมู่บ้านสะปำ)


-----------------------------
 
พิธีการถือศีลกินผักที่ภูเก็ต


จังหวัดภูเก็ตไม่มีประเพณีกินเจเหมือนที่อื่นแต่จะเรียกว่าประเพณีถือศีลกินผักตามภาษาถิ่นฮกเกี้ยนที่ว่าเจี๊ยะฉ่าย(食菜)ตามตำนานกล่าวว่าเมื่อประมาณ180ปีก่อนมีคณะงิ้วจากเมืองจีนมาเปิดการแสดงที่กะทู้นานเป็นแรมปี แล้วบังเอิญช่วงนั้นเกิดโรคระบาดขึ้นคณะงิ้วจึงจัดให้มีพิธีกินผักและสร้างศาลเจ้าขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ หลังจากนั้นโรคภัยไข้เจ็บก็หายสิ้น ชาวกะทู้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาจึงปฏิบัติตาม และหลังจากประกอบพิธีอยู่ประมาณ 2-3 ปี ผู้ศรัทธามากขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับอยากได้พิธีกินผักที่สมบูรณ์ตามแบบประเพณีมณฑลกังไส ประเทศจีน จึงได้ส่งตัวแทนไปนำควันธูป (เหี่ยวเอี้ยน) ในการเดินทางกลับจะต้องคอยจุดธูปต่อกันมิให้ดับมอด ศาลเจ้ากะทู้จึงได้ชื่อว่าเป็นต้นตำรับของพิธีกินผักในปัจจุบัน

ความหมายของ เจ

คำว่า เจ ในภาษาจีนทางพุทธศาสนาฝ่ายมหายานมีความหมายเดียวกับคำว่า อุโบสถ ดังนั้นการกินเจก็คือการรับประทานอาหารก่อนเที่ยงวัน เหมือนกับที่ชาวพุทธในประเทศไทยที่ถืออุโบสถศีล หรือรักษาศีล 8 โดยไม่รับประทานอาหารหลังจากเที่ยงวันไปแล้ว

แต่เนื่องจากการถืออุโบสถศีลของชาวพุทธฝ่ายมหายานที่ไม่กินเนื้อสัตว์ จึงนิยมนำการไม่กินเนื้อสัตว์ไปรวมกันเข้ากับคำว่ากินเจ กลายเป็นการถือศีลกินเจ ในปัจจุบันผู้ที่รับประทานอาหารทั้ง 3 มื้อแต่ไม่กินเนื้อสัตว์ก็ยังคงเรียกว่ากินเจ ฉะนั้นความหมายก็คือคนกินเจมิใช่เพียงแต่ไม่กินเนื้อสัตว์ แต่ยังต้องดำรงตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม มีความบริสุทธิ์ สะอาด ทั้งกาย วาจา ใจ

แจมิได้แปลว่า อุโบสถ

ในภาษาจีนมี(กลุ่ม)คำหรือวลีที่ใช้อักษรแจ(เจ, 齋 / 斋 )เป็นตัวประกอบร่วมด้วยหลายคำ แต่คำว่าโป๊ยกวนแจไก่ (八關齋戒 ) ซึ่งเป็นศัพท์ของทางพุทธศาสนา ดูจะเป็นคำที่นิยมหยิบยกมาใช้อธิบายความหมายของอักษรแจเสมอมา

โป๊ยกวนแจไก่ (八關齋戒 ) แปลว่า ศีลบริสุทธิ์แปดประการ ซึ่งก็คือ “ศีลแปด”ที่เรารูจักกันดี

คนไทยในรุ่นปู่ย่าตายายที่เคร่งในศีลวัตรจะไปอาราธนาศีลแปดจากพระสงฆ์ในวันธรรมสวนะภายในพระอุโบสถ ศีลแปดจึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า “ อุโบสถศีล ”

ผู้เขียนเกี่ยวกับเรื่องกินเจที่ไม่เข้าใจภาษาและที่มาของคำจึงแปลอักษรแจผิดว่า “อุโบสถ” ซึ่งคำแปลนี้ก็ฮิตติดตลาดและถูกคัดลอกไปใช้บ่อยอย่างน่ารำคาญใจ เพราะหากจะเอาตามความในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานแล้ว

อุโบสถ เป็นคำนาม หมายถึง สถานที่ที่พระสงฆ์ประชุมกันทำสังฆกรรมต่างๆ เรียกย่อว่า โบสถ์

การแปลและเข้าใจคลาดเคลื่อนดังกล่าวยังถูกใช้เป็นบรรทัดฐานในการอธิบายวัตรปฏิบัติของการกินเจผิดตามไปด้วยว่า “การกินเจต้องถือศีลข้อวิกาลโภชน์” หรือการงดกินของขบเคี้ยวหลังเที่ยงวันไปแล้ว ซึ่งเป็นศีลข้อหนึ่งในศีลแปด ทั้งๆที่โรงครัวของศาลเจ้าหรือโรงเจที่เปิดเลี้ยงผู้คนในช่วงเทศกาลกินเจล้วนแต่มีอาหารมื้อเย็นให้กับผู้เข้าไปกิน ยิ่งวันที่มีการประกอบพิธีกรรมในตอนค่ำยังมีอาหารมื้อค่ำบริการเสริมให้เป็นพิเศษด้วย ที่เป็นเช่นนั้นเพราะในช่วงเทศกาลกินเจนั้นเขาถือเพียงศีลห้าที่เป็นนิจศีล ไม่ได้ครองศีลแปดอย่างที่หลายคนเข้าใจ (เว้นแต่ผู้ตั้งจิตอธิษฐานว่าจะครองศีลแปดเป็นการส่วนตัวเท่านั้น)

ในทางอักษรศาสตร์จีน อักษรตัว “แจ” มีพัฒนาการมาจาก ตัวอักษร ฉี “ 齊 ” ซึ่งแปลว่าบริบูรณ์ , เรียบร้อย อักษรแจเกิดจากการเพิ่มเส้นตั้งและสองจุด ( ) เข้าไปกลางอักษรฉี ทำให้เกิดตัว ซื ( ) ซึ่งแปลว่าการสักการะ อยู่ในแก่นกลางของตัวฉี

แจ( ) จึงมีความหมายว่า การรักษาความบริสุทธิ์(ทั้งกายและใจ)เพื่อการสักการะ หรือ การปฏิบัติบูชาถวายเทพยดา

ซึ่งการอธิบายในแนวทางนี้จะสอดคล้องกับ คำว่า “ 齋醮 ” ในลัทธิเต๋า ซึ่งย่อมาจากคำว่า 供齋醮神 ที่แปลว่าการบำเพ็ญกายใจให้บริสุทธิ์เพื่อเป็นสักการะบูชาเทพยดา

ความหมายของแจในศาสนาอิสลาม

ศัพท์คำว่า ศีลแจ / 齋戒 ในภาษาจีน นอกจากใช้ในลัทธิเต๋าและศาสนาพุทธแล้ว ยังหมายถึง “ศีลอด” ที่ถือปฏิบัติในเดือนถือศีลอดของชาวจีนอิสลาม สาระของศีลก็คือการห้ามรับประทานอาหารใดๆในระหว่างเวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นจวบจนลับขอบฟ้า ตลอดเดือนถือศีลอด

แจในวัฒนธรรมดั่งเดิมของจีน

ศัพท์ แจ พบในเอกสารจีนเก่าที่มีอายุกว่าสองพันปีหลายฉบับ เช่น 禮記 , 周易 , 易經 , 孟子 , 逸周書 (เอกสารที่อ้างนี้ปัจจุบันถือว่าเป็นคัมภีร์ในลัทธิหยู) เอกสารเหล่านั้นยังใช้อักษรตัวฉี( )แต่เวลาอ่านออกเสียงกลับต้องอ่านออกเสียงว่า ไจ เช่น คำว่า ไจเจี๋ย / 齊潔 หรือ ไจเจี้ย / 齊戒 ซึ่งก็คือการออกเสียงแจในสำเนียงแต้จิ๋วนั่นเอง อักษรฉีในเอกสารนั้นนักอักษรศาสตร์ตีความว่าแท้จริงแล้วก็คืออักษรตัวแจหรือใช้แทนตัวแจ แจที่ว่านี้หาได้หมายถึงการงดกินของสดคาว หรือ การงดรับประทานอาหารหลังเที่ยง หากหมายถึงการชำระล้างร่างกาย สงบจิตใจ และสวมใส่เสื้อผ้าใหม่สะอาด เป็นการเตรียมกายและใจให้บริสุทธิ์เพื่อประกอบพิธีกรรมสักการะบูชา ขอพร หรือแสดงความขอบคุณต่อเทพยดาแห่งสรวงสวรรค์

แจเพื่อการจำแนกความเคร่งครัดของภิกษุฝ่ายมหายาน

ศีลของภิกษุฝ่ายมหายาน ในส่วนเกี่ยวกับการฉันของภิกษุแตกต่างจากฝ่ายเถรวาททั้งมีการจำแนกเป็นสองลักษณะตามสำนักศึกษาได้แก่

1.เหล่าที่ถือมั่นในศีลวิกาลโภชน์และฉันอาหารเจ จะไม่ฉันอาหารหลังอาทิตย์เที่ยงวัน เรียก ถี่แจ /持齋

2.เหล่าที่ถือมั่นแต่การฉันอาหารเจ เรียกถี่สู่ /持素 เจี๊ยะแจ

ความหมาย

เจี๊ยะแจ (食齋 ) เป็นการออกเสียงตามสำเนียงถิ่นแต้จิ๋ว ศัพท์คำนี้ใช้และเป็นที่เข้าใจแต่ทางตอนใต้ของจีนโดยเฉพาะแถบลุ่มอารยะธรรมหลิ่งหนาน (領南)ในมณฑลกวางตุ้ง อันเป็นแหล่งอาศัยดั่งเดิมของคนแคะ แต้จิ๋ว กวางตุ้งและไหหนำ ซึ่งเป็นชาวจีนกลุ่มใหญ่ในประเทศไทย เจียะแจตรงกับคำว่า ชือซู ( )ในภาษาจีนกลาง (สำเนียงปักกิ่ง)

เจี๊ยะ ( ) ในภาษาถิ่นใต้ หากใช้ในความหมายของคำกิริยา แปลว่า กิน

แจ ( ) แปลว่า บริสุทธิ์ ( 清淨 ) ( อ้างตามปทานุกรมพุทธศาสนาฉบับ วัดฝอกวงซัน ,ไต้หวัน )

เจี๊ยะแจ หรือ ตรงกับคำไทยที่นิยมใช้กันว่า กินเจ จึงแปลว่า การกินอาหารที่บริสุทธิ์ตามความเชื่อ(ในลัทธิกินเจ) ซึ่งหมายความถึงอาหารที่ไม่คาวหรือไม่เจือปนซากผลิตภัณฑ์ของสัตว์ รวมทั้งไม่ปรุงใส่พืชผักต้องห้าม

คำว่าเจียะแจนี้ชาวจีนฮกเกี้ยนทางปักษ์ใต้แถบจังหวัดภูเก็ตเรียกต่างออกไปว่า เจี๊ยะไฉ่ (食菜) ที่แปลตามตัวอักษรได้ว่า “กินผัก” แต่มีนิยามหรือความหมายตรงกับคำว่าเจี๊ยะแจที่กล่าวข้างต้น

กินเจเพื่ออะไร?

ผู้ที่กินเจอาจจะมีจุดเริ่มต้นที่แตกต่างกันไป แต่จุดประสงค์หลักสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทดังนี้

1. กินเพื่อสุขภาพ อาหารเจเป็นอาหารประเภทชีวจิต เมื่อกินติดต่อกันไปช่วงเวลาหนึ่งจะทำให้ร่างกายเกิดการปรับตัวให้อยู่ในสภาวะสมดุล สามารถขับพิษของเสียต่างๆ ออกจากร่างกายได้ ปรับระบบไหลเวียนโลหิต ระบบทางเดินอาหารให้มีเสถียรภาพ

2. กินด้วยจิตเมตตา เนื่องจากอาหารที่เรากินอยู่ในชีวิตประจำวัน ประกอบด้วยเลือดเนื้อของสรรพสัตว์ ผู้มีจิตเมตตา มีคุณธรรมและมีจิตสำนึกอันดีงามย่อมไม่อาจกินเลือดเนื้อของสัตว์เหล่านั้นซึ่งมีเลือดเนื้อ จิตใจและที่สำคัญมีความรักตัวกลัวตายเช่นเดียวกับคนเรา

3. กินเพื่อเว้นกรรม ผู้ที่เข้าใจอย่างลึกซึ้งย่อมตระหนักว่าการกินซึ่งอาศัยการฆ่าเพื่อเอาเลือดเนื้อผู้อื่นมาเป็นองเราเป็นการสร้างกรรม แม้ว่าจะไม่ได้เป็นผู้ลงมือฆ่าเองก็ตาม การซื้อจากผู้อื่นก็เหมือนกับการจ้างฆ่าเพราะถ้าไม่มีคนกินก็ไม่มีคนฆ่ามาขาย กรรมที่สร้างนี้จะติดตามสนองเราในไม่ช้าทำให้สุขภาพร่างกายอายุขัยของเราสั้นลงเป็นบ่อเกิดของโรคภัยไข้เจ็บ เมื่อผู้หยั่งรู้เรื่องกฎแห่งกรรมนี้จึงหยุดกินหยุดฆ่าหันมารับประทานอาหารเจ ซึ่งทำให้ร่างกายเติบโตได้เหมือนกัน โดยไม่เห็นแก่ความอร่อยช่วงเวลาสั้นๆ เพียงแค่อาหารผ่านลิ้นเท่านั้น

พืชผักผลไม้ถือว่าเป็นยาดีๆ นี่เอง

ประโยชน์

การกินอาหารเจ นอกจากจะเป็นการถือศีลและรักษาประเพณีแล้ว ยังให้ประโยชน์ต่อร่างกายดังนี้

1. ร่างกายสามารถขับถ่ายของเสียออกได้หมดทำให้ไม่มีสารพิษตกค้างอยู่ภายใน สารอาหารที่มีคุณค่าในพืชผักและผลไม้จะช่วยให้ระบบขับถ่ายและการย่อยเป็นปกติ

2. เมื่อรับประทานเป็นประจำโลหิตจะถูกฟอกให้สะอาดขึ้นเรื่อยๆ เซลล์ต่างๆ ของร่างกายเสื่อมสลายช้าลงทำให้อายุยืนยาวมีผิวพรรณสดชื่นผ่องใส นัยน์ตาแจ่มใสไม่พร่ามัวร่างกายแข็งแรงรู้สึกเบาสบายไม่อึดอัด มีสุขภาพพลานามัยดี

3. อวัยวะหลักสำคัญภายใน ได้แก่ หัวใจ ไต ม้าม ตับ ปอด และอวัยวะประกอบคือ ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะ กระเพาอาหาร ถุงน้ำดี แข็งแรงทำงานได้เป็นปกติสมบูรณ์

4. ร่างกายสามารถต้านทานต่อสารพิษต่างๆ ได้แก่

1. สารเคมี ยากำจัดศัตรูพืช ยาฆ่าแมลง สารดีดีที

2. มลภาวะและก๊าซพิษที่เกิดจากการเผาไหม้ในอุตสาหกรรม ไอเสียจากเครื่องจักร เครื่องยนต์ซึ่งแพร่กระจายปะปนไปในอากาศที่เราหายใจอยู่เป็นประจำและยังพบว่ามีปะปนอยู่ในแหล่งน้ำดื่มด้วย

3. กัมมันตภาพรังสีที่เกิดจากการทดลองระเบิดนิวเคลียร์และในการทำสงคราม สารอาหารในพืชผักช่วยให้เซลล์ต่างๆ ในร่างกายสามารถทนต่อการทำลายจากรังสีต่างๆ

5. ร่างกายสามารถต้านทานต่อสารพิษต่างๆ ได้สูงกว่าคนปกติธรรมดาสารพิษที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ ในบรรดาผู้ที่กินอาหารเจ อาหารพืชผักและผลไม้เป็นประจำความเจ็บไข้ได้ป่วยมักไม่มีปรากฏโดยเฉพาะโรคที่รุนแรงหรือเรื้อรัง เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เส้นเลือดตีบ ไขมันอุดตันในเส้นเลือด โรคไต ไขข้ออักเสบ โรคเก๊าส์ โรคเบาหวานฯลฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่เกี่ยวกับระบบขับถ่าย ย่อยอาหารและทางเดินอาหาร เช่น โรคริดสีดวงทวาร มะเร็งในกระเพาะและลำไส้ โรคกระเพาะ อาหารไม่ย่อย โรคเหล่านี้จะไม่พบเลยในกลุ่มคนผู้ที่รับประทานอาหารเจ อาหารพืชผักและผลไม้เป็นประจำ

หลักธรรมในการกินเจ

ในทัศนะของคนกินเจ การกินที่ทำให้ชีวิตผู้อื่นต้องเดือดร้อนล้มตายนั้น “มันมากเกินไป” ทั้งๆ ที่มนุษย์กินแต่อาหารพืชผักก็สามรถมีชีวิตอยู่ได้

การกินเจตั้งมั่นอยู่บนหลักธรรมสำคัญ 2 ประการคือ ดำรงชีวิตอยู่ด้วยอาหารที่ไม่เบียดเบียนตนเองและดำรงชีวิตอยู่ด้วยอาหารที่ไม่เบียดเบียนผู้อื่น กล่าวคือ

1. ไม่เอาชีวิตของสัตว์ทั้งหลายมาต่อเติมบำรุงเลี้ยงชีวิตของตน

2. ไม่เอาเลือดของสัตว์ทั้งหลายมาเป็นเลือดของตน

3. ไม่เอาเนื้อของสัตว์ทั้งหลายมาเป็นเนื้อของตน

การรับประทานสิ่งใดก็ตามที่ทำลายสุขภาพร่างกายของตนให้ทรุดโทรม คือ การเบียดเบียนตนเอง ปัจจุบันวิทยาการเจริญก้าวหน้าได้พิสูจน์ยืนยันว่าเลือดและเนื้อของสัตว์ที่ถูกฆ่าตายเต็มไปด้วยพิษภัยมากมาย

ดังนั้นการกินเจจึงไม่ใช่เพื่อให้เกิดผลดีต่อจิตใจเท่านั้นแต่ยังครอบคลุมไปถึงการมีสุขภาพพลานามัยที่ดีอีกด้วย ร่างกายและจิตใจเป็นของคู่กันมีความสัมพันธ์ส่งผลถึงกันคนเราย่อมไม่อาจจะรู้สึกเบิกบานสดชื่นร่าเริงได้ในขณะที่ร่างกายเจ็บป่วยทรุดโทรมย่ำแย่

การปฏิบัติตนในช่วงกินเจ

ในช่วงเทศกาลกินเจ 9 วัน 9 คืน ผู้ที่ต้องการกินเจอย่างครบถ้วยสมบูรณ์ตามประเพณีการกินเจ จะต้องปฏิบัติดังนี้

1. งดเว้นเนื้อสัตว์หรือทำอันตรายต่อสัตว์

2. งดนม เนย และน้ำมันที่มาจากสัตว์

3. งดอาหารรสจัด ซึ่งหมายถึงอาหารเผ็ด หวานมาก เปรี้ยวมาก เค็มมาก

4. งดผักหรือเครื่องเทศที่มีกลิ่นแรง เช่น กระเทียม หัวหอม ต้นหอม กุยช่าย รวมทั้งใบยาสูบ สิ่งเสพติดและของมึนเมาต่างๆ

5. รักษาศีลห้า

6. รักษาจิตใจให้บริสุทธิ์ รักษาอารมณ์

7. ทำบุญทำทาน

8. นุ่งขาวห่มขาว

สำหรับผู้ที่เคร่งครัดเพื่อการกินเจให้เป็นไปอย่างบริสุทธ์โดยแท้ จะเพิ่มการปฏิบัติโดยการกินอาหารเฉพาะที่คนกินเจด้วยกันเป็นผู้ปรุงเท่านั้น รวมถึงจะล้างหม้อไหจนสะอาดเอี่ยมแยกภาชนะสำหรับการปรุงอาหารเจไว้โดยเฉพาะ นอกจากนี้ยังจุดตะเกียงไว้ 9 ดวงตลอดช่วงเทศกาลกินเจ 9 วัน โดยไม่ปล่อยให้ดับเพื่อเป็นพุทธบูชาและรำลึกถึงบุญคุณของพ่อแม่ญาติพี่น้องตลอดจนผู้ที่มีบุญคุณต่อผืนแผ่นดินเกิด

ธงที่ใช้ประดับหน้าร้านอาหารเจต้องมีตัวอักษรจีนสีแดงด้วย 齋

เจ็ดวันอันควรงดเว้นจากการกินเนื้อสัตว์

แม้ว่าจะมีผู้คนจำนวนมากที่ยังคงเข่นฆ่ากินเลือดกินเนื้อสัตว์ทุกวัน แต่อย่างน้อยที่สุดควรหยุดคิดสักนิดให้เห็นถึงความสำคัญของวันทั้ง 7 ที่ควรงดเว้นเนื้อสัตว์เพื่อเป็นมงคลชีวิตสู่ความสำเร็จของตนเองและครอบครัว ถือเป็นมหากุศลและเมตตาธรรมสูงสุด

กินเจในวันเกิดของตนเอง

วันที่เราได้เกิดมามีชีวิตไม่ควรทำลายผู้อื่น สัตว์ทั้งหลายเมื่อถือกำเนิดมาบนโลกต่างก็อยากมีชีวิตอยู่ยืนยาว เป็นการไม่สมควรอย่างยิ่งที่ไปฆ่าผู้อื่นแล้วกินเลือดกินเนื้อเขาเพื่อฉลองวันเกิดของตนเองซึ่งเป็นการตัดทอนอายุขัยของผู้อื่นให้สั้นลงแล้วจะหวังให้ตนเองมีอายุยืนยาวได้อย่างไร

กินเจในวันเกิดของลูกหลาน

ในวันเกิดของลูกหลานวันที่ชีวิตใหม่ถือกำเนิดผู้เป็นพ่อแม่ต่างชื่นชมยินดีเป็นที่สุด ลูกของเราเรารักดังแก้วตาดวงใจยามลูกนอนก็คอยปัดเป่าพัดวีแม้แต่ยุง เหลือบ ริ้น ไร มิยอมให้ขบกัด สัตว์ทุกตัวก็รักลูกของเขาเช่นเดียวกับมนุษย์ ดวงใจของผู้เป็นพ่อแม่ ไม่มีแบ่งแยกว่าเป็นมนุษย์หรือสัตว์ ลูกของใครใครก็รักเพราะฉะนั้นวันที่เราได้ลูกต่างสุดแสนดีใจแล้วทำไมจึงต้องทำให้ผู้อื่นเสียใจที่ลูกต้องตายจากไป

กินเจในวันแต่งงานหรือวันมงคลสมรส

วันแต่งงานหรือวันมงคลสมรสเป็นวันที่มีความหมายอย่างยิ่งในชีวิต ในชั่วชีวิตของแต่ละคนจะมีงานมงคลนี้เพียงครั้งเดียว ทุกคนเมื่อแต่งงานกันแล้วต่างก็อยากมีชีวิตที่ยั่งยืนได้ครองรักกันไปจนแก่เฒ่า คู่รักของใครต่างก็รักและหวงแหนไม่ยอมให้ผู้ใดมาทำอันตราย สัตว์ก็มีคู่ชีวิตรู้จักรักและหวงแหนเช่นกัน หากวันที่เราได้คู่ชีวิตมาเคียงข้างกลับเป็นวันที่เราพรากชีวิตคู่ของผู้อื่นมานั้นมันช่างไม่ยุติธรรมเลย ดังนั้นวันที่เราแต่งงานได้คู่ครองจึงไม่ควรพราดชีวิตสัตว์อื่น

กินเจในวันงานเลี้ยงเพื่อนฝูงญาติมิตร

ในโอกาสจัดงานเลี้ยงสังสรรค์รับรองเพื่อนฝูงญาติมิตรทุกคนที่มาร่วมชุมนุมต่างปลื้มปีติที่ได้กลับมาพบกันอีกครั้ง โอกาสที่น่ายินดีเช่นนี้เราไม่ควรใช้ชีวิตเลือดเนื้อของผู้อื่นมาเลี้ยงฉลองเพราะขณะที่เราดีใจที่ฉลองด้วยเลือดเนื้อผู้อื่น แต่สัตว์ทั้งหลายต่างโศกเศร้าเสียใจที่ต้องตายจากกันไป หากจัดเลี้ยงเพื่อนฝูงด้วยอาหารพืชผักและผลไม้ถือได้ว่าเป็นบุญกุศลยิ่งใหญ่ที่บังเกิดขึ้นแก่เพื่อนฝูงผู้มาร่วมงานซึ่งถือว่าเป็นความปีติยินดีให้แก่ทุกฝ่ายอย่างแท้จริง

กินเจในวันเซ่นไหว้บรรพบุรุษ

ผู้ที่มีความกตัญญูที่แท้จริงไม่พึงกระทำอย่างยิ่งในงานบำเพ็ญกุศลอุทิศให้แก่ผู้ที่เราเคารพรัก ทุกคนรู้สึกโศกเศร้าเสียใจที่ต้องสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักไป ฉะนั้นในงานศพจึงไม่ควรทำให้สัตว์ทั้งหลายต้องตายตามไปด้วย ดวงวิญญาณของคนที่เขาเคารพรักเหล่านั้นย่อมจะจากไปโดยไม่มีความสงบสุขแน่หากรู้ว่างานศพของตนเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้อื่นต้องล้มตายลงอย่างมากมาย

กินเจในงานทำบุญสร้างกุศลทุกโอกาส

คนเรามีโอกาสประสบสิ่งดีๆ ในชีวิตมีโอกาสที่ได้สร้างบุญกุศลอยู่เสมอ เช่น วันขึ้นปีใหม่หรือวันทำบุญอื่นๆ การจัดงานทำบุญในวันเหล่านี้ทุกคนต่างก็มุ่งหวังให้ตนมีความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้ายิ่ง ให้มีชีวิตที่ดีได้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขตลอดไป ฉะนั้นในงานสร้างบุญกุศลทุกงานจึงไม่สมควรเลี้ยงพระ เณร แขกเหรื่อและเพื่อนฝูงด้วยชีวิตและความตายของสัตว์ เพราะเหตุนี้ในโอกาลงานบุญงานกุศลที่เราทุกคนปรารถนาแต่ความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าอยู่เย็นเป็นสุขจึงไม่ควรสร้างบาปซึ่งเป็นเหตุให้ชีวิตผู้อื่นต้องตาย

กินเจในโอกาสขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์

ในโอกาสที่ไปกราบไหว้สักการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไม่ว่าพระองค์ใดก็ตาม ทุกคนควรชำระล้างปาก ลิ้น ให้สะอาดด้วยการกินเจ กระทำตนให้สะอาดทั้งกายวาจาและจิตใจ เมื่อนั้นก็จะบังเกิดความสุขความเจริญเป็นสิริมงคลแก่ตัวเราเอง การถวายเครื่องสักการะอื่นใดแม้จะมีราคาแพงสักเท่าไรมันก็เป็นเพียงวัตถุสิ่งของเท่านั้น ขอให้ทุกคนจงนำเอา “จิตใจอันดีงาม” ซึ่งมีอยู่แล้วในตัวของทุกๆ คนออกมาถวายเป็นเครื่องสักการะต่อสิ่งศักดิ์สิทธ์เบื้องบน จิตใจที่มีแต่ความบริสุทธิ์ดีงามของมนุษย์นี่แหละเป็นเครื่องสักการะอันล้ำค่าที่สุด

เบ็ดเตล็ด

การปฏิบัติตัวช่วงเทศกาลกินเจ -งดเว้นเนื้อสัตว์ หรือทำอันตรายต่อสัตว์ -งด นม เนย หรือน้ำมันจากสัตว์ -งดอาหารรสจัด หมายถึง อาหารรสเผ็ดมาก เค็มมาก หวานมาก เปรี้ยวมาก -งดผักกลิ่นฉุน 5 ชนิด คือ กระเทียม หัวหอม หลักเกียว กุยช่าย ใบยาสูบ รวมทั้งเครื่องเทศที่มีกลิ่นฉุน รักษาศีล 5 -รักษาจิตใจให้บริสุทธิ์ รักษาอารมณ์ให้คงที่ -ทำบุญ ทำทาน บางคนที่เคร่งอาจนุ่งขาว ห่มขาว

"อาหารเจ" เป็นอาหารที่ปรุงขึ้นจากพืชผักธรรมชาติล้วนๆ ไม่มีเนื้อสัตว์ปน และที่สำคัญต้องไม่ปรุงด้วยผักฉุนทั้ง 5

ตามความเชื่อทางการแพทย์จีน ของผักเหล่านี้มีรสหนัก กลิ่นรุนแรง เป็นเหตุให้อวัยวะหลักสำคัญภายในทั้ง 5 ทำงานไม่ปกติ

สำหรับคนที่กินเจอย่างเคร่งครัด นอกจากจะ "ถือศีล-กินเจ" แล้ว ยังต้องเลือกผู้ปรุงอาหารเจที่กินเจด้วย เพื่อให้ "อาหารเจ" นั้นบริสุทธิ์จริงๆ

บางคนจะคัดแยกภาชนะบรรจุหรือปรุงอาหาร จากที่ใช้ใส่อาหารที่มีเนื้อสัตว์อย่างเด็ดขาด

และในบางแห่งอาจพบว่ามีการจุดตะเกียงเก้าดวงไว้เป็นเวลา 9 วันตลอดระยะเวลากินเจ เพื่อรำลึกถึงบุญคุณพ่อแม่ญาติพี่น้อง และเพื่อเป็นพุทธบูชา

การกินเจทำได้ 2 แบบ คือ
1.กินเป็นกิจวัตร คือ ละเว้นการกินเนื้อสัตว์ทั้ง 3 มื้อทุกวัน

2.กินเฉพาะช่วงกินเจ คือ กินเจช่วงวันขึ้น 1 ถึง 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีน

ส่วนจะปฏิบัติที่เคร่งครัดกว่า หรือเกินความคิดคำนึงพื้นฐานของคนทั่วไป เช่น ลุยไฟ ใช้เหล็กเสียบแทงตนเอง หรือม้าทรงต่างๆ ในเทศกาลกินเจที่ภูเก็ต หรือตรัง นั่นคือ ความเชื่ออันแรงกล้าทำให้เกิดสิ่งที่ตนคิดว่าเป็นไปได้เสมอ

สี

ทำไมต้องใช้ธงสีเหลือง ตัวหนังสือสีแดง แต่งกายสีขาว?

สีแดง เป็นสีที่ชาวจีนเชื่อว่าเป็นสีศิริมงคล ดังจะเห็นได้ว่าในงานมงคลต่างๆ ของคนจีนไม่ว่าจะเป็นงานแต่ง วันตรุษจีน

สีเหลือง เป็นสีสำหรับใช้ในราชวงศ์ซึ่งอนุญาตให้ใช้ได้เพียงคนสองกลุ่มเท่านั้น กลุ่มแรกคือกษัตริย์ซึ่งเห็นได้จากหนังจีน เครื่องแต่งกายและภาชนะต่างๆ เป็นสีเหลืองหรือทองซึ่งคนสามัญห้ามใช้เด็ดขาด กลุ่มที่สองคืออาจารย์ปราบผีถ้าท่านสังเกตในหนังผีจีนจะเห็นว่าเขาแต่งกายและมียันต์สีเหลือง

สีขาว ตามธรรมเนียมจีนสีขาวคือสีสำหรับการไว้ทุกข์ สีดำที่เราเห็นกันอยู่ในขณะนี้เป็นการรับวัฒนธรรมตะวันตก ถ้าท่านสังเกตในพิธีงานศพของจีนจะเห็นลูกหลานแต่งชุดสีขาวอยู่

สีซึ่งกล่าวมาทั้งหมดนี้สามารถนำไปเชื่อมโยงในตำนานข้างต้นที่กล่าวมาได้ทั้งหมด

เพื่อนเจ

เพื่อนเจเราจะเรียกว่า แจอิ๊ว หมายถึงเพื่อนที่กินเจเวลาร้านค้าเรียกลูกค้าในวันนั้นจะเหมารวมคนที่ใส่ชุดขาวว่า แจอิ๊ว ทั้งหมด

ถ้วยชาม

หากเป็นสมัยก่อนถ้วยชามที่ใช้ในเทศกาลกินเจก็จะมีชุดใหม่ซึ่งไม่ปนกับชุดที่ใช้อยู่ทุกวัน บางบ้านจะทำความสะอาดบ้านเพื่อต้อนรับเทศกาลกินเจ
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย

วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

งานพ้อต่อ จังหวัดภูเก็ต ประจำปี 2553

เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2553 นายวิชัย ไพรสงบ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต พร้อมด้วยนางไทศิกา ไพรสงบ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดภูเก็ต นายเรวัต อารีรอบ สส.ภูเก็ต พรรคประชาธิปัตย์ นายประดิษฐ์ แสงจันทร์ ประธานสภา อบจ.ภูเก็ต และสมาชิกสภา อบจ.ภูเก็ต ร่วมเป็นเกียรติงานประเพณีพ้อต่อ ตลาดสด 1 ประจำปี 2553 โดยมีนางสาวสมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต ฝ่ายบริหาร สมาชิกสภาฯ ส่วนราชการเทศบาลนครภูเก็ต และพี่น้องประชาชนชาวภูเก็ตร่วมให้การต้อนรับ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต และคณะได้ร่วมกันไหว้พระ ทำบุญ พร้อมเที่ยวชมกิจกรรมต่างๆ ภายใน ซึ่งบรรยากาศภายในงานเป็นไปอย่างคึกคักมีประชาชนไทยเชื้อสายจีน และนักท่องเที่ยวเข้าร่วมงานจำนวนมาก

สำหรับประเพณีพ้อต่อจัดขึ้นเพื่อบำเพ็ญกุศลบวงสรวงวิญญาณของบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว เชื่อว่าวิญญาณบรรพบุรุษจะเดินทางมาเยี่ยมลูกหลานในช่วงขึ้น 1 ค่ำ เดือน 7 ของจีน องค์พ้อต่อก๊ง ซึ่งเป็นหัวหน้าผีจะนำบริวารออกจากขุมนรก เพื่อมาเยี่ยมลูกหลานและเที่ยวบนโลกมนุษย์ ในโอกาสที่เป็นการต้อนรับวิญญาณบรรพบุรุษที่กลับมาเยี่ยมบ้าน ตลอดจนวิญญาณที่ไม่มีญาติ ดังนั้นในวันนี้จะห้ามลูกหลานออกจากบ้านหลังพลบค่ำแล้ว เพราะอาจจะเคราะห์ร้ายถูกวิญญาณที่เดินทางกลับมาทักทาย ทำให้เจ็บป่วยได้ และวิญญาณเหล่านี้จะถูกทิ้งไว้ 1 เดือนแล้วจะมารับกลับในวันที่ 29 หรือวันที่ 30 เดือน 7 ตามปฏิทินจีนอันเป็นวันสุดท้ายที่ส่งวิญญาณกลับ ผู้ใหญ่ก็จะห้ามลูกหลานออกจากบ้านเช่นเดียวกัน เพราะอาจจะเคราะห์ร้ายถูกกวาดต้อนวิญญาณกลับขุมนรกด้วย

นอกจากตามบ้านจัดพิธีไหว้บรรพบุรุษและวิญญาณผีที่ไม่มีญาติแล้ว ตามศาลเจ้าต่างๆ หรือบริเวณบางสถานที่จะมีพิธีเซ่นไหว้วิญาณที่ไม่มีญาติด้วย เพราะเมื่อบรรดาวิญญาณผีไม่มีญาติเดินทางกลับบ้านด้วยความหิวโหย แต่ไม่พบใคร ด้วยญาติพี่น้องตายหมด ไม่มีผู้ใดทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้อาจทำร้ายผู้คนได้ จึงจัดพิธีกรรมใหญ่โตตั้งโต๊ะบูชาบรรดาผีไม่มีญาติเหล่านั้น ประเพณีพ้อต่อในจังหวัดภูเก็ต จะจัดขึ้นในเดือน 7 ตามปฏิทินจีน

ทั้งนี้ในประเพณีพ้อต่อ จะประกอบพิธีเซ่นไหว้ อันประกอบด้วยอาหารคาว หวาน ซึ่งที่ขาดไม่ได้คือขนมเต่า ที่ปั้นขึ้นขนาดเล็กบ้างใหญ่บ้างตามศรัทธา รวมอยู่ในเครื่องบวงสรวงนี้ด้วยสาเหตุที่นำขนมเต่านี้มาเซ่นไหว้เพราะเพื่อระลึกถึงเต่ายักษ์ตัวหนึ่ง ซึ่งว่ายน้ำฝ่าคลื่นลมที่โหมกระหน่ำอย่างบ้าคลั่ง เพื่อไปช่วยพระถังซัมจั๋งให้รอดพ้นจากพายุ ในระหว่างเดินทางไปอัญเชิญพระไตรปิฎก อีกนัยหนึ่งก็คือ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ผู้เซ่นไหว้ เนื่องจากชาวจีนเชื่อกันว่าเต่าเป็นสัตว์อายุยืนยาว แข็งแรง ส่วนสีแดง เป็นสีแห่งความเป็นมงคล ความยินดีปรีดา และความศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้นการเซ่นไหว้ด้วยขนมรูปเต่าสีแดง จึงเป็นการต่ออายุให้ตนเองและยังถือเป็นกุศลอันยิ่งใหญ่อีกด้วย

ขนมเต่าสีแดงนี้ ผู้เฒ่าผู้แก่ เล่าว่า แต่เดิมทำกันขนาดไม่ใหญ่โตนักตามแบบแผนของการเซ่นไหว้ ต่อมามีผู้เห็นว่า ขนมเต่ามีลักษณะและความหมายอันเป็นมงคลยิ่ง ควรให้ความสำคัญเป็นพิเศษ จึงได้จัดทำให้มีขนาดโตขึ้น จนปัจจุบันขนมเต่ามีขนาดใหญ่โตมากขึ้นตามกำลังศรัทธาจนไม่อาจถือได้เพียงคนสองคน ต้องใช้หมู่คณะออกแรงช่วยกันหามจากบ้าน หรือโรงงานทำขนมมายังสถานที่ประกอบพิธีจนเกิดประเพณีแห่เต่าในวันพ้อต่อขึ้น

อย่างไรก็ตามการจัดงานประเพณีพ้อต่อ ในปี 2553 นี้นอกจากจะเต็มไปด้วยขนมเต่าซึ่งมีขนาดใหญ่ที่พี่น้องประชาชนนำมาเซ่นไหว้ แล้วยังเต็มไปด้วยเครื่องเซ่นไหว้ประเภทเนื้อสัตว์ ทั้งหมู เป็น ไก่ ฯลฯ รวมไปถึงประเภทผัก ผลไม้ เครื่องดื่ม และอาหารประเภทขนม ซึ่งถูกจัดวางไว้อย่างสวยงาม สามารถดึงดูดความสนใจของพี่น้องประชาชนชาวภูเก็ต และนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวงานได้เป็นอย่างดี

ข้อมูล..ปชส.ภูเก็ต

วันจันทร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เทศกาลเข้าพรรษาที่ภูเก็ต


วันเข้าพรรษา หรือ การเข้าพรรษา เป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์โดยเฉพาะ ซึ่งพุทธศาสนิกชนถือเป็นโอกาสอันดีที่จะบำเพ็ญกุศลแก่พระสงฆ์ที่จำพรรษาและตั้งใจปฏิบัติธรรมเพื่อละเว้นสิ่งไม่ดีเพื่อพยายามประกอบความดีในช่วงนี้อีกด้วย

สำหรับวันเข้าพรรษาที่จังหวัดภูเก็ต จะมีชาวไทยใหม่หรือชาวเลจาก ต.ราไวย์และจากเกาะสิเหร่ หอบลูกจูงหลานพากันไปตามวัดต่างๆ ทั่วเกาะภูเก็ต เพื่อขอรับเงินให้ทานจากพุทธศาสนิกชน ที่ได้มาร่วมกันทำบุญตามวัดต่างๆ และหลังจากที่พระได้ฉันอาหารเสร็จแล้วพวกเขาก็จะร่วมวงกันกินอาหารจนอิ่มหนำหลังจากนั้นก็จะเก็บรวบรวมข้าวปลาอาหาร ผลไม้และขนมต่างๆ ส่วนที่เหลือนำกลับไปฝากคนที่อยู่ทางบ้านด้วย โดยไม่มีการดูถูกรังเกียจเหยียดหยามจากพุทธศาสนิกชนที่มาร่วมกันทำบุญ ซ้ำยังช่วยเหลือจัดให้ด้วยความเต็มอก เต็มใจอีกต่างหาก นับเป็นประเพณี ที่ไม่เหมือนจังหวัดใดๆในประเทศไทย

ชมคลิปวีดีโอ เมื่อวันเข้าพรรษา กรกฎาคม 2553 ที่วัดกะทู้ จังหวัดภูเก็ต


--------------------------------------------------------
เกี่ยวกับวันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติดปากกันโดยทั่วไปว่า จำพรรษา ("พรรษา" แปลว่า ฤดูฝน, "จำ" แปลว่า พักอยู่) พิธีเข้าพรรษานี้ถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์โดยตรง ละเว้นไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม การเข้าพรรษาตามปกติเริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี (หรือเดือน 8 หลัง ถ้ามีเดือน 8 สองหน) และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา

วันเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8) หรือเทศกาลเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) ถือได้ว่าเป็นวันและช่วงเทศกาลทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญเทศกาลหนึ่งในประเทศไทย โดยมีระยะเวลาประมาณ 3 เดือนในช่วงฤดูฝน โดยวันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ต่อเนื่องมาจากวันอาสาฬหบูชา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8) ซึ่งพุทธศาสนิกชนชาวไทยทั้งพระมหากษัตริย์และคนทั่วไปได้สืบทอดประเพณีปฏิบัติการทำบุญในวันเข้าพรรษามาช้านานแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย

สาเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตการจำพรรษาอยู่ ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งตลอด 3 เดือนแก่พระสงฆ์นั้น มีเหตุผลเพื่อให้พระสงฆ์ได้หยุดพักการจาริกเพื่อเผยแพร่ศาสนาไปตามสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นไปด้วยความยากลำบากในช่วงฤดูฝน เพื่อป้องกันความเสียหายจากการอาจเดินเหยียบย่ำธัญพืชของชาวบ้านที่ปลูกลงแปลงในฤดูฝน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงเวลาจำพรรษาตลอด 3 เดือนนั้น เป็นช่วงเวลาและโอกาสสำคัญในรอบปีที่พระสงฆ์จะได้มาอยู่จำพรรษารวมกันภายในอาวาสหรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยจากพระสงฆ์ที่ทรงความรู้ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ด้วย

ในวันเข้าพรรษาและช่วงฤดูพรรษากาลตลอดทั้ง 3 เดือน พุทธศาสนิกชนชาวไทยถือเป็นโอกาสอันดีที่จะบำเพ็ญกุศลด้วยการเข้าวัดทำบุญใส่บาตร ฟังพระธรรมเทศนา ซึ่งสิ่งที่พิเศษจากวันสำคัญอื่น ๆ คือ มีการถวายหลอดไฟหรือเทียนเข้าพรรษา และผ้าอาบน้ำฝน (ผ้าวัสสิกสาฏก) แก่พระสงฆ์ด้วย เพื่อสำหรับให้พระสงฆ์ได้ใช้สำหรับการอยู่จำพรรษา โดยในอดีต ชายไทยที่เป็นพุทธศาสนิกชนเมื่ออายุครบบวช (20 ปี) จะนิยมถือบรรพชาอุปสมบทเป็นพระสงฆ์เพื่ออยู่จำพรรษาตลอดฤดูพรรษากาลทั้ง 3 เดือน โดยพุทธศาสนิกชนไทยจะเรียกการบรรพชาอุปสมบทเพื่อจำพรรษาตลอดพรรษากาลว่า "บวชเอาพรรษา"

นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2551 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้วันเข้าพรรษาเป็น "วันงดดื่มสุราแห่งชาติ" โดยในปีถัดมา ยังได้ประกาศให้วันเข้าพรรษาเป็นวันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั่วราชอาณาจักรทั้งนี้เพื่อรณรงค์ให้ชาวไทยตั้งสัจจะอธิษฐานงดการดื่มสุราในวันเข้าพรรษาและในช่วง 3 เดือนระหว่างฤดูเข้าพรรษา เพื่อส่งเสริมค่านิยมที่ดีให้แก่สังคมไทย

สำหรับในปี พ.ศ. 2553 นี้ วันเข้าพรรษาจะตรงกับ วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม ตามปฏิทิน สุริยคติ

ดูรายละเอียดและข้อมูลเกี่ยวกับการเข้าพรรษาเพิ่มเติม ได้ที่วิกิพีเดีย

ประเพณี สารทเดือนสิบ เมืองคอน




ประเพณี สารทเดือนสิบ
-------------------------


หมรับ
------------------------------
.

ยก หมรับ
------------------------------


แห่ หมรับ

---------------------------------------------------------------------------------

ประวัติความเป็นมา
---------------------


***ประเพณี สารทเดือนสิบ เป็นงานบุญประเพณีของคนภาคใต้ ของประเทศไทย โดยเฉพาะ ชาว นครศรีธรรมราช ที่ได้รับอิทธิพลด้านความเชื่อ ซึ่งมาจากทางศาสนาพราหมณ์ โดยมีการผสมผสานกับความเชื่อทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเข้ามาในภายหลัง โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญ เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศล ให้แก่ดวงวิญญาณของบรรพชนและญาติที่ล่วงลับ ซึ่งได้รับการปล่อยตัวมาจากนรก ที่ตนต้องจองจำอยู่ เนื่องจากผลกรรมที่ตนได้เคยทำไว้ตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยจะเริ่มปล่อยตัวจากนรกในทุกวันแรม 1 ค่ำเดือน 10 เพื่อมายังโลกมนุษย์ โดยมีจุดประสงค์ในการมาขอส่วนบุญจากลูกหลานญาติพี่น้อง ที่ได้เตรียมการอุทิศไว้ให้เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้ล่วงลับ หลังจากนั้นก็จะกลับไปยังนรก ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10


***ช่วงระยะเวลาในการประกอบพิธีกรรม ของประเพณี สารทเดือนสิบ จะมีขึ้นในวันแรม 1 ค่ำ ถึงแรม 15 ค่ำเดือนสิบของทุกปี แต่สำหรับวันที่ชาวใต้มักจะนิยมทำบุญกันมากคือ วันแรม 13-15 ค่ำ ประเพณีวันสารทเดือนสิบ โดยในส่วนใหญ่แล้ว จะตรงกับเดือนกันยายน


***“งานเทศกาลเดือนสิบ” จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2466 ที่สนามหน้าเมือง นครศรีธรรมราช โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อหาเงินสร้างสโมสรข้าราชการซึ่งชำรุดมากแล้ว โดยในช่วงนั้น พระภัทรนาวิก จำรูญ (เอื้อน ภัทรนาวิก) ซึ่งเป็น นายกศรีธรรมราชสโมสร และพระยารัษฎานุประดิษฐ์ ผู้ว่าราชการจังหวัด ได้ร่วมกันจัดงานประจำปีขึ้น พร้อมทั้งมีการออกร้าน และมหรสพต่างๆ โดยมีระยะเวลาในการจัดงาน 3 วัน 3 คืน จนกระทั่ง ถึงปี พ.ศ. 2535 ทางจังหวัดได้ย้ายสถานที่จัดงาน จากสนามหน้าเมือง ไปยังสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ 84 (ทุ่งท่าลาด) ซึ่งมีบริเวณกว้าง และได้มีการจัดตกแต่งสถานที่ ไว้อย่างสวยงาม


***การ จัดเทศการ งานเดือนสิบ ถือเป็นความพยายามของมนุษย์ ที่มุ่งทดแทน พระคุณบรรพบุรุษ แม้ว่าจะล่วงลับไปแล้วก็ตาม ซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวไทยทุกคน ควรต้องยึดถือปฏิบัติ รวมทั้งปลูกฝังให้อนุชนรุ่นหลัง ได้ปฏิบัติสืบทอดต่อๆไป อย่างน้อย หากมนุษย์ระลึกถึงเรื่องเปรต ก็จะสำนึกถึง บาปบุญคุณโทษ รวมทั้งการแสดงออก ซึ่งความกตัญญูกตเวที ที่เป็นหัวใจสำคัญ ในการอยู่ร่วมกันในสังคม อย่างสงบสุข ตลอดไป


***ความ เชื่อของพุทธศาสนิกชน ชาว นครศรีธรรมราช เชื่อว่าบรรพบุรุษ อันได้แก่ ปู่ ย่า ตา ยาย และ ญาติพี่น้อง ที่ล่วงลับไปแล้ว หากทำความดีไว้ เมื่อครั้งที่ยังมีชีวิตอยู่ จะได้ไปเกิดในสรวงสวรรค์ แต่หากทำความชั่ว จะตกนรก กลายเป็นเปรต ต้องทนทุกข์ทรมานในอเวจี ต้องอาศัยผลบุญ ที่ลูกหลานอุทิศส่วนกุศลให้ในแต่ละปี มายังชีพ ดังนั้น ในวันแรม 1 ค่ำเดือนสิบ คนบาปทั้งหลาย ที่เรียกว่า เปรต จึงถูกปล่อยตัว กลับมายังโลกมนุษย์ เพื่อมาขอส่วนบุญ จากลูกหลาน ญาติพี่น้อง และจะกลับไปนรกดังเดิม ก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ในวันแรม 15 ค่ำเดือนสิบ โอกาสนี้เองลูกหลาน และผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ จึงนำอาหารไปทำบุญที่วัด เพื่ออุทิศส่วนกุศล ให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวที


***วัน สารท เป็นวันที่ถือเป็นคติ และเชื่อสืบกันมาว่า ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว จะมีโอกาส ได้กลับมารับส่วนบุญ จากญาติพี่น้องที่ยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้น จึงมีการทำบุญอุทิศส่วนกุศล ไปให้ญาติในวันนี้ และเชื่อว่า หากทำบุญในวันนี้ไปให้ญาติแล้ว ญาติจะได้รับส่วนบุญได้เต็มที่ และมีโอกาสหมดหนี้กรรม และจะได้ไปเกิดหรือมีความสุข


***อีก ประการหนึ่ง สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม ทำนาเป็นอาชีพหลัก ในช่วงเดือนสิบนี้ ได้ปักดำข้าวกล้าลงในนาหมดแล้ว กำลังงอกงาม และรอเก็บเกี่ยวเมื่อสุก จึงมีเวลาว่างพอที่จะทำบุญ เพื่อเลี้ยงตอบแทน และขอบคุณสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือพระแม่โพสพ หรือ ผีไร่ ผีนา ที่ช่วยรักษาข้าวกล้าในนาให้เจริญงอกงามดี และออกรวงจนสุกให้เก็บเกี่ยวได้ผลผลิตมาก


***ความสำคัญของประเพณี สารทเดือนสิบ ของชาว นครศรีธรรมราช


***การทำบุญ สารทเดือนสิบ เป็นประเพณีที่ชาวเมือง นครศรีธรรมราช ได้ถือปฏิบัติด้วยศรัทธาแต่ดึกดำบรรพ์ โดยถือเป็นคติว่า ปลายเดือนสิบของแต่ละปี เป็นระยะที่พืชพันธุ์ธัญญาหารในท้องถิ่นออกผล เป็นช่วงที่ชาวเมืองซึ่งส่วนใหญ่ ยังชีพด้วยการเกษตร ชื่นชมยินดีในพืชของตน ประกอบด้วยเชื่อกันว่า ในระยะเดียวกันนี้เปรตที่มีชื่อว่า “ปรทัตตูปชีวีเปรต” จะถูกปล่อยใหัขึ้นมาจากนรก เพื่อมาร้องขอส่วนบุญต่อลูกหลาน ญาติพี่น้อง เหตุนี้ ณ โลกมนุษย์ จึงได้มีการทำบุญอุทิศส่วนกุศล ไปไห้ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย พี่น้อง ลูกหลาน ที่ล่วงลับไป โดยการจัดอาหารคาวหวาน วางไว้ที่บริเวณวัด เรียกว่า “ตั้งเปรต” ตามพิธีไสยเวทอีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งเรื่องนี้ก็ได้พัฒนามาเป็น “การชิงเปรต” ในเวลาต่อมา


***ความมุ่งหมายของประเพณี สารทเดือนสิบ***
------------------------------------------------------

***ประเพณี สารทเดือนสิบ มีความมุ่งหมายสำคัญอยู่ที่ การทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ กับ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย และญาติพี่น้อง ผู้ล่วงลับไปแล้ว แต่ด้วยเหตุที่วิถีชีวิตของชาว นครศรีธรรมราช เป็นวิถีชีวิตแห่งพระพุทธศาสนา ในสังคมเกษตรกรรม จึงมีความมุ่งหมายอื่นร่วมอยู่ด้วย


---1) เป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศล ให้กับ พ่อ แม่ ปู่า ตา ยาย ญาติพี่น้อง หรือบุคคลอื่นผู้ล่วงลับไปแล้ว


---2) เป็นการทำบุญ ด้วยการเอาผลผลิตทางการเกษตร แปรรูปเป็นอาหารถวายพระสงฆ์ รวมถึง การจัดหฺมรับ ถวายพระ ในลักษณะของ “สลากภัต” นอกจากนี้ ยังถวายพระ ในรูปของผลผลิตที่ยังไม่แปรสภาพ เพื่อเป็นเสบียงแก่พระสงฆ์ ในช่วงเข้าพรรษาในฤดูฝน ทั้งนี้เพื่อความเป็นสิริมงคล แก่ตนเอง ครอบครัว และเพื่อผลในการประกอบอาชีต่อไป


---3) เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความสนุกสนานรื่นเริงประจำปี เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกประเพณี ของชาวนครฯ แต่ประเพณีนี้มีชื่อเสียงมากที่สุด ได้จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ทุกๆ ปี เรียกว่า “งานเดือนสิบ” ซึ่งงานเดือนสิบนี้ ได้จัดควบคู่กับประเพณีสารทเดือนสิบ มาตั้งแต่ พ.ศ. 2466 จนถึงปัจจุบัน


กิจกรรม

***การทำบุญวัน สารทเดือนสิบ หรือภาษาท้องถิ่นเรียกว่า วันชิงเปรตนั้น ในเดือนสิบ )กันยายน) มีการทำบุญที่วัด 2 ครั้ง


***ครั้งแรก วันแรม 1 ค่ำ เดือนสิบเรียกว่า วันรับเปรต


***ครั้งที่สอง วันแรม 15 ค่ำ เดือนสิบเรียกว่า วันส่งเปรต


***การทำบุญทั้งสองครั้ง เป็นการทำบุญที่แสดงถึง ความกตัญญูต่อบุพการีผู้ล่วงลับไปแล้ว โดยอุทิศส่วนกุศล ไปให้วิญญาณของบรรพบุรุษที่ตกอยู่ในเปรตภูมิ เป็นคติของศาสนาพราหมณ์ ที่ผสมในประเพณีของพุทธศาสนา พุทธศาสนิกชน นิยมไปทำบุญ ณ วัดที่เป็นภูมิลำเนาของตน เพื่อร่วมพิธีตั้งเปรต และชิงเปรตอาจสับเปลี่ยนกันไปทำบุญ ณ ภูมิลำเนาของฝ่ายบิดาครั้งหนึ่ง ฝ่ายมารดาครั้งหนึ่ง จึงทำให้ผู้ที่ไปประกอบ อาชีพจากถิ่นห่างไกลจากบ้านเกิด ได้มีโอกาสได้กลับมาพบปะสังสรรค์ และรู้จักวงศาคณาญาติเพิ่มขึ้น

ประเพณีปฏิบัต

***ก่อนวันงาน ชาวบ้านจะทำขนมที่เรียกว่า กระยาสารท และขนมอื่นๆ แล้วแต่ความนิยมของแต่ละท้องถิ่น ในวันงานชาวบ้านจัดแจงนำข้าวปลาอาหารและข้าวกระยาสารทไปทำบุญตักบาตรที่วัดประจำหมู่บ้าน ทายก ทายิกาไปถือศีล เข้าวัด ฟังธรรม และรักษาอุโบสถศีล นำข้าวกระยาสารท หรือขนมอื่น ไปฝากซึ่งกันและกัน ยังบ้านใกล้เรือนเคียง หรือหมู่ญาติมิตรที่อยู่บ้านไกล หรือถามข่าวคราวเยี่ยมเยือนกัน บางท้องถิ่นทำขนม สำหรับบูชา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ แม่พระโพสพ ผีนา ผีไร่ด้วย เมื่อถวายพระสงฆ์เสร็จแล้ว ก็นำไปบูชาตามไร่นา โดยวางตามกิ่งไม้ต้นไม้ หรือที่จัดไว้เพื่อการนั้นโดยเฉพาะ


ระยะเวลา

***ระยะเวลาของการประกอบพิธีประเพณีสารทเดือนสิบ มีขึ้นในวันแรม 1 ค่ำ เดือนสิบ แต่วันที่ชาวนครนิยมทำบุญคือ วันแรม 13-15 ค่ำ


พิธีกรรม


การปฏิบัติพิธีกรรมการทำบุญสารทเดือนสิบ มี 3 ขั้นตอน คือ


---1) การจัดหมฺรับและยกหมฺรับ


---2) การฉลองหมฺรับและการบังสุกุล


---3) การตั้งเปรตและการชิงเปรต


การจัดหมฺรับและยกหมฺรับ


***การจัดเตรียมสิ่งของที่ใช้จัดหมฺรับ เริ่มขึ้นในวันแรม 13 ค่ำ วันนี้เรียกกันว่า "วันจ่าย" ตลาดต่างๆ จึงคึกคักและคลาคล่ำไปด้วยฝูงชนชาวบ้าน จะซื้ออาหารแห้ง พืชผักที่เก็บไว้ได้นาน ข้าวของเครื่องใช้ ในชีวิตประจำวัน และขนมที่เป็นสัญลักษณ์ของสารทเดือนสิบ จัดเตรียมไว้สำหรับใส่หมฺรับ และ สำหรับนำไปมอบให้ผู้ใหญ่ ที่ตนเคารพนับถือ


การจัดหมฺรับ


***การจัดหมฺรับ มักจะจัดเฉพาะครอบครัว หรือจัดรวมกันในหมู่ญาติ และจัดเป็นกลุ่ม ภาชนะที่ใช้จัดหมฺรับ ใช้กระบุง หรือ เข่งสานด้วยด้วยตอกไม้ไผ่ ขนาดเล็กหรือใหญ่ขึ้นอยู่กับความประสงค์ของเจ้าของหมฺรับ ปัจจุบันใช้ภาชนะที่ประดิษฐ์ขึ้นมาเป็นกรณีพิเศษ การจัดหมฺรับ คือการบรรจุและประดับด้วยสิ่งของ อาหาร ขนมเดือนสิบ ฯลฯ ลงภายในภาชนะที่เตรียมไว้


ลักษณะของการจัด


---1) ชั้นล่างสุด จัดบรรจุสิ่งของประเภทอาหารแห้ง ลงไว้ที่ก้นภาชนะ ได้แก่ ข้าวสาร แล้วใส่พริก เกลือ หอม กระเทียม กะปิ น้ำปลา น้ำตาล มะขามเปียก รวมทั้งบรรดาปลาเค็ม เนื้อเค็ม หมูเค็ม กุ้งแห้ง เครื่องปรุงอาหารที่จำเป็น


---2) ขั้นที่สอง จัดบรรจุอาหารประเภทพืชผักที่เก็บไว้ได้นาน ใส่ขึ้นมาจากชั้นแรก ได้แก่ มะพร้าว ขี้พร้า หัวมันทุกชนิด กล้วยแก่ ข้าวโพด อ้อย ตะไคร้ ลูกเนียง สะตอ รวมทั้งพืชผักอื่นที่มีในเวลานั้น


---3) ขั้นที่สาม จัดบรรจุสิ่งของประเภทของใช้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ น้ำมันพืช น้ำมันมะพร้าวน้ำมันก๊าด ไต้ ไม้ขีดไฟ หม้อ กระทะ ถ้วย ชาม เข็ม ด้าย หมาก พลู กานพลู การบูน พิมเสน สีเสียด ปูน ยาเส้น บุหรี่ ยาสามัญประจำบ้าน ธูป เทียน


---4) ขั้นบนสุด ใช้บรรจุและประดับประดาด้วยขนมอันเป็นสัญลักษณ์ของสารทเดือนสิบ เป็นสิ่งสำคัญของหมฺรับ ได้แก่ ขนมพอง ขนมลา ขนมกง (ขนมไข่ปลา) ขนมบ้า ขนมดีซำ ขนมที่บรรพบุรุษและญาติที่ล่วงลับได้นำไปใช้ประโยชน์


ขนมเดือนสิบ


---ขนมพอง เป็นสัญลักษณ์แทน เรือ แพ ที่บรรพบุรุษใช้ข้ามห้วงมหรรณพ เหตุเพราะขนมพองนั้น แผ่ดังแพ มีน้ำหนักเบา ย่อมลอยน้ำ และขี่ข้ามได้


---ขนมลา เป็นสัญลักษณ์แทน แพรพรรณ เครื่องนุ่งห่ม เหตุเพราะขนมลา มีรูปทรงดังผ้าถักทอ พับ แผ่ เป็นผืนได้


---ขนมบ้า เป็นสัญลักษณ์แทน ลูกสะบ้า สำหรับใช้เล่น ต้อนรับสงกรานต์ เหตุเพราะขนมบ้า มีรูปทรงคล้ายลูกสะบ้า การละเล่นที่นิยมในสมัยก่อน


---ขนมดีซำ เป็นสัญลักษณ์แทน เงิน เบี้ย สำหรับใชัสอย เหตุเพราะรูปทรงของขนม คล้ายเบี้ยหอย


---ขนมกง (ไข่ปลา) เป็นสัญลักษณ์แทน เครื่องประดับ เหตุเพราะรูปทรงมีลักษณะ คล้ายกำไล แหวน


เหตุผลของการจัดหฺมฺรับ


***ปลายเดือนสิบอัน เป็นระยะเริ่มฤดูฝน “การอิงศาสภิกษุ” ด้วยพืชผล ที่ยังไม่ได้ปรุงเป็นอาหารคาวหวาน สำหรับขบฉันในทันทีที่ขับประเคนนั้น ชาวเมืองมุ่งหมาย จะให้เสบียงเลี้ยงสงฆ์ในฤดูกาล อันยากต่อการบิณฑบาต และเพื่อมิให้ฉันทาคติบังเกิดแก่ทั้งสองฝ่าย คือสงฆ์ และศรัทธาถวายพืชผักสดแก่สงฆ์ จึงใช้วิธี “สลากภัต” คือจัดใส่ภาชนะตกแต่ง เรียกว่า “สำรับ” หรือ “หฺมฺรับ”


หฺมฺรับ” หัวใจของการทำบุญเดือนสิบ


***การจัดหฺมฺรับ เป็นการเตรียมเสบียงอาหารบรรจุในภาชนะ เพื่อนำไปถวายพระสงฆ์ ในช่วงเทศกาลเดือนสิบ เป็นการอุทิศส่วนกุศล ให้แก่บรรพชน หรือญาติพี่น้อง ที่ล่วงลับไปแล้ว ได้นำกลับไปใช้สอยในนรกภูมิ หลังจากถูกปล่อยตัวมาอยู่ในเมืองมนุษย์ช่วงเวลาหนึ่ง และต้องถึงเวลา กลับไปใช้กรรมตามเดิม ฉะนั้น บรรดาลูกหลาน ก็จะต้องจัดเตรียม สิ่งของเครื่องใช้ อาหาร ฯลฯ มิให้ขาดตกบกพร่อง แล้วบรรจงจัดลงภาชนะ ตกแต่งประดับประดา ด้วยดอกไม้ให้สวยงาม เพื่อทำในสิ่งที่ดีที่สุด ให้บรรพบุรุษ ด้วยใจที่เปี่ยมไปด้วยความรัก ความผูกพัน และความกตัญญู


การปฎิบัติตามประเพณีสารทเดือนสิบ


***ช่องของการทำบุญเดือนสิบ จะมีวันที่ถูกกำหนดเพื่อดำเนินการเรื่อง “หฺมฺรับ” อยู่หลายวัน และจะมีชื่อเรียกแตกต่างกัน กล่าวคือ วันหฺมฺรับเล็ก ตรงกับวันแรม 1 ค่ำเดือนสิบ เชื่อกันว่าเป็นวันแรกที่วิญญาณของบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ได้รับอนุญาต ให้กลับมาเยี่ยมลูกหลาน ซึ่งลูกหลานจะจัดสำรับ อาหารคาวหวาน ไปทำบุญที่วัด เป็นการต้อนรับ บางท้องถิ่นเรียกวันนี้ว่า “วันรับตายาย”


***วันจ่าย ตรงกับวันแรม 13 ค่ำเดือนสิบ เป็นวันที่คนนคร ต้องตระเตรียมข้าวของสำหรับจัดหฺมฺรับ โดยไปตลาดเพื่อจัดจ่ายข้าวของเป็นการพิเศษกว่าวันอื่นๆ


***วันยกหฺมฺรับ ตรงกับวันแรม 14 ค่ำเดือนสิบ เป็นวันที่ลูกหลานร่วมกันแบกหาม หรือ ทูนหฺมฺรับที่จัดเตรียมเรียบร้อยแล้ว ไปถวายพระที่วัด อาจจะรวมกลุ่มคน บ้านไกล้เรือนเคียง ไปเป็นกลุ่มตามธรรมชาติ หรือบางทีอาจจะจัดเป็นขบวนแห่เพื่อความคึกคักสนุกสนานก็ได้


***วันหฺมฺรับใหญ่ หรือวันหลองหฺมฺรับ ตรงกับวันแรม 15 ค่ำเดือนสิบ เป็นวันที่นำอาหารคาวหวานไปทำบุญเลี้ยงพระที่วัดครั้งใหญ่ ทำพิธีบังสุกุล อุทิศส่วนกุศลให้บรรพชน และตั้งเปรตเพื่ออุทิศส่วนกุศล ให้วิญญาณที่ไม่มีลูกหลานมาทำบุญให้ ขณะเดียวกัน ก็ทำพิธีฉลองสมโภชหฺมฺรับที่ยกมา


การยกหมฺรับ


***วันแรม 14 ค่ำ ชาวบ้านจะจำหมฺรับที่จัดเตรียมไว้ ไปทำบุญอุทิศส่วนกุศลที่วัด โดยเลือกวัดที่อยู่ใกล้บ้าน หรือวัดที่บรรพบุรุษของตนนิยม วันนี้เรียกว่า "วันยกหมฺรับ" การยกหมฺรับไปวัดเป็นขบวนแห่ หรือไม่มีขบวนแห่ก็ได้ โดยนำหมฺรับและภัตตาหารไปถวายพระด้วย


การฉลองหมฺรับและการบังสุกุล


***วันแรม 15 ค่ำ ซึ่งเป็นวันสารทเรียกว่า "วันหลองหมฺรับ" มีการทำบุญเลี้ยงพระและบังสุกุล การทำบุญวันนี้เป็นการส่งบรรพบุรุษและญาติพี่น้องให้กลับไปยังเมืองนรก นับเป็นวันสำคัญวันหนึ่ง ซึ่งเชื่อกันว่าหากไม่ได้กระทำพิธีกรรมในวันนี้ บรรพบุรุษพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วจะไม่ได้รับส่วนกุศล ทำให้เกิดทุขเวทนาด้วยความอดอยาก ลูกหลานที่ยังมีชีวิตอยู่ก็จะกลายเป็นคนอกตัญญูไป


การตั้งเปรตและการชิงเปรต


***เสร็จจากการฉลองหมฺรับและถวายภัตตาหารแล้วกก็นิยมนำขนมอีกส่วนหนึ่งไปวางไว้ ตามบริเวณวัด โคนไม้ใหญ่ หรือกำแพงวัด เรียกว่า "ตั้งเปรต" เป็นการแผ่ส่วนกุศล ให้เป็นสาธารณะทาน แก่ผู้ล่วงลับที่ไม่มีญาติหรือญาติไม่ได้มาร่วมทำบุญได้ บางวัดนิยมสร้างร้านขึ้น เพื่อสะดวกแก่ตั้งเปรต เรียกว่า "หลาเปรต" (ศาลาเปรต) เมื่องตั้งขนม ผลไม้ และและเงินทำบุญเสร็จแล้ว ก็จะนำสายสิญจน์ที่ได้บังสุกุลแล้ว มาผูกเพื่อแผ่ส่วนกุศลด้วย เมื่อเสร็จพิธีสงฆ์ ก็จะเก็บสายสิญจน์ การชิงเปรตจะเริ่มหลังจากตั้งเปรตเสร็จแล้ว ช่วงนี้เป็นช่วงที่เรียกว่า "ชิงเปรต" ทั้งผู้ใหญ่และเด็กจะวิ่งกันเข้าไปแย่งขนมกันอย่างคึกคัก เพราะความเชื่อว่า ของที่เหลือจากการเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ถ้าใครได้ไปกินก็จะได้กุศลแรง เป็นสิริมงคลแก่ตนเอง และครอบครัว วัดบางแห่งสร้างหลาเปรตไว้สูง โดยมีเสาเพียงเสาเดียว เสานี้เกลาจนลื่นและชะโลมด้วยน้ำมัน เมื่อถึงเวลาชิงเปรต เด็กๆ แย่งกันปีนขึ้นไป หลายคนตกลงมาเพราะเสาลื่น และอาจถูกคนอื่นดึงขาพลัดตกลงมา กว่าจะมีผู้ชนะการปีนไปถึงหลาเปรต ก็ต้องใช้ความพยายามอย่างมาก จึงมีทั้งความสนุกสนาน และความและความตื่นเต้น


***ในการทำบุญสารทเดือนสิบ ลูกหลานจะทำขนม หรืออาหารนำไปวางในที่ต่างๆของวัด ตั้งที่ศาลาซึ่งเป็นศาลาสำหรับเปรตทั่วไป และริมกำแพงวัด หรือใต้ต้นไม้ สำหรับเปรตที่ปราศจากญาติ หรือญาติไม่ได้ทำบุญอุทิศให้ รือมีกรรมไม่สามารถเข้าในวัดได้ พิธีกรรมทำบุญอุทิศส่วนกุศลทำได้โดยการแผ่ส่วนกุศล และกรวดน้ำอุทิศให้ เมื่อเสร็จลูกหลานจะมีการแย่งชิงขนม และอาหารกันที่เรียกว่า “ชิงเปรต”


***การชิงเปรต เป็นขั้นตอนที่เกิดขึ้น หลังจากการอุทิศส่วนกุศลแก่เปรต โดยมีพระสงฆ์สวดบังสุกุล พอพระชักสายสิญจน์ที่พาดโยงไปยังอาหารที่ตั้งเปรต ลูกหลานก็จะเข้าไปแย่งเอามากิน ซึ่งของที่แย่งมาได้ถือเป็นของเดนชาน การได้กินเดนชานจากวิญญาณบรรพบุรุษ เป็นความเชื่อที่ถือกันว่าเป็นการแสดงความรัก เป็นสิริมงคล และเป็นกุศลสำหรับลูกหลาน.




ข้อมูลจาก  "ลูกเนียง พลัดถิ่น"

หนังสือพิมพ์ "หลังชน เมืองคอน" ออนไลน์

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------